Saturday, October 30, 2004

SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS (A+)

สรุปอันดับหนังยาวที่ได้ดูในเทศกาลนี้

1.SEVEN DAYS SEVEN NIGHTS (2003, JOEL CANO) A+
หลังจากดูหนังเรื่องนี้จบใหม่ๆ รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีข้อเสียมากมายและผู้กำกับยังมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกมาก แต่หลังจากเวลาผ่านไประยะนึง ข้อเสียในหนังเรื่องนี้กลับเลือนหายไปจากความทรงจำ และภาพที่น่าประทับใจจากหนังเรื่องนี้กลับผุดขึ้นมาในหัวบ่อยครั้งที่สุดเมื่อเทียบกับหนังเรื่องอื่นๆ ฉากที่ประทับใจมากในเรื่องนี้คือฉากต่างๆของสาวนักทำแท้งชื่อมาเรีย ไม่ว่าจะเป็นฉากขโมยดอกไม้, ฉากเธอวิ่งเตลิดกลางดงมะละกอ, ฉากเธอวิ่งเตลิดกลางป่าโดยไม่มีที่มาที่ไปและไม่มีสาเหตุใดๆทั้งสิ้น, ฉากเธอทำสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกอยู่ในลำคลองข้างทางรถไฟ, ฉากที่เธอต่อรองราคากับเจ้าแม่ในร้านทำผม, ฉากที่เธอปะทะกับเกย์สาว, ฉากที่เธอกล่าวหาคนเดินในถนนว่าทำให้ไหล่เธอเคลื่อน ไม่รู้เหมือนกันว่านักแสดงที่รับบทเป็นมาเรียในหนังเรื่องนี้ชื่ออะไร แต่เธออาจจะเป็นนักแสดงเพียงไม่กี่คนในโลกนี้ที่มีพลังความเฮี้ยนอยู่ในตัวมากพอที่จะสามารถต่อกรกับ
1.Divine (Pink Flamingos, Female Trouble, Hairspray)
2.Carmen Maura (Pepi Luci Bom, What Have I Done to Deserve This?, Women on the Verge of a Nervous Breakdown)
3.Holly Woodlawn (Trash, Women in Revolt)
4.นางเอก “คุณหญิงบ่าวตั้ง”

2.THE NIGHT WILL PAY (2003, NESTOR MAZZINI) A+
เดาว่าหนังเรื่องนี้คงนำปัญหาการเมืองในอาร์เจนตินามาดัดแปลงให้เป็นเรื่องอุปมาอุปไมย ดิฉันในฐานะคนไทยที่ไม่รู้เรื่องการเมืองในอาร์เจนตินาจึงไม่สามารถเข้าใจและตีความได้ว่าอะไรเป็นสัญลักษณ์แทนอะไรในหนังเรื่องนี้ อย่างไรก็ดี ฉากเปิดของหนังเรื่องนี้สุดยอดมาก ภาพหน้าต่างหรือม่านหน้าต่างที่ค่อยๆปิดลงทีละบานให้ความรู้สึกน่าขนลุกอย่างรุนแรง และฉากคุณยาย 3 คนที่เหมือนกับผุดมาจากขุมนรกก็เป็นฉากที่เหมือนกับหลุดออกมาจากหนังของ Alejandro Jodorowsky

3.OURS DOESN’T WORK (2003, NICOLAS ALVAREZ + IVAN WOLOVIK) A+
หนังเรื่องนี้สมบูรณ์และลงตัวกว่า Seven Days Seven Nights และ The Night Will Pay แต่ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าหนังเรื่องนี้จะฝังใจมากเท่าสองเรื่องนั้นหรือเปล่า

พระเอกหนังเรื่องนี้ดูบางมุมแล้วนึกถึง Romain Duris (Exils, Seventeen Times Cecile Cassard, Children of the Stork)

4.OR (2003, KAREN REDAYA) A+
ความสุขอย่างนึงที่ได้รับจากหนังเรื่องนี้ก็คือการได้ดูสภาพชีวิตคนที่จนตรอกยิ่งกว่าเรา และทำให้เราตระหนักว่าชีวิตเราเองช่างมีความสุขยิ่งนัก หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังหลายๆเรื่องในเทศกาลนี้ที่แสดงให้เห็นปัญหาในการหาเงินมายังชีพ และมีตัวละครที่แทบไม่รู้ว่าจะหาเงินที่ไหนมาซื้อข้าวกิน สิ่งที่ประทับใจในเทศกาลนี้ก็คือหนังในเทศกาลนี้แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าคุณจะมีชีวิตอยู่ในประเทศที่มีระบอบการปกครองแบบใด การ “หาเงินมาซื้อข้าวกินประทังชีวิต” ก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากยิ่งนัก ไม่ว่าคุณจะเป็นชาวยิวในอิสราเอล, เป็นหญิงอิหร่าน, เป็นชาวอาร์เจนตินา, เป็นชาวอินเดีย, เป็นชาวคาซัคสถาน, เป็นชาวเวียดนาม หรือเป็นชาวคิวบา ไม่ว่าคุณจะอยู่ในประเทศทุนนิยม, ประเทศคอมมิวนิสต์ หรือประเทศอะไร คุณก็อดตายได้ง่ายๆไม่แพ้กัน

5.PETERKA: YEAR OF DECISION (2003, VLADO SKAFAR) A+
หนังสารคดีที่ชอบที่สุดในงานนี้

6.LIVE-IN MAID (2004, JORGE GAGGERO) A+
การแสดงในหนังเรื่องนี้สุดยอดไม่แพ้หนังเรื่อง OR แต่การแสดงในเรื่องนี้เน้นแววตามากกว่าการกระทำ

ชอบตัวละครในหนังเรื่องนี้มากๆ มันดูสง่ามากๆ ตอนก่อนเข้าไปดูหนังเรื่องนี้ นึกว่าจะได้ดูหนังแนวผู้หญิงปากร้ายด่าทอกันวุ่นวายแบบ Seven Days Seven Nights แต่ปรากฏว่าตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นผู้ดีมากๆ ฉากที่ชอบมากคือฉากที่สาวใช้ไปตามผัวของเธอ ตอนแรกนึกว่าจะต้องมีการตบกันในฉากนี้ แต่ปรากฏว่าไม่มี ฉากที่คุณนายกินถั่วงอกก็เป็นฉากที่สุดๆเหมือนกัน (ถึงแม้หนังดูเหมือนจะจงใจเค้นอารมณ์จากฉากนี้มากไปหน่อย) ตอนจบของหนังเรื่องนี้ก็ชอบมากๆ

หนังเรื่องนี้เหมาะสำหรับผู้ชมที่ชอบตัวละครผู้หญิงวัยกลางคนแบบ
1.BRIGITTE MIRA ใน ALI—FEAR EATS THE SOUL (1974, RAINER WERNER FASSBINDER, A+)
2.PAULINE COLLINS ใน SHIRLEY VALENTINE (1989, LEWIS GILBERT, A+)
3.BRENDA FRICKER ใน SWANN (1996, ANNA BENSON GYLES, A+)
4.TAMAR YERUSHALMI ใน FOREIGN SISTER (2000, DAN WOLMAN, B)
แต่หนังเรื่องนี้ไม่เหมาะสำหรับผู้ชมที่ชอบตัวละครผู้หญิงวัยกลางคนแบบใน Something’s Gotta Give

7.LITTLE MEN (2003, NARIMAN TUREBAYEV) A+
เพื่อนพระเอกในหนังเรื่องนี้น่ารักดี ส่วนพระเอกไม่ค่อยน่ารักเท่าไหร่ แต่ตาสวยมาก ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากในดิสโกเธค มันเป็นฉากที่ตอนดูรู้สึกว่ามันธรรมดามากๆ แต่ดูจบแล้วกลับเป็นฉากที่ฝังใจ

ฉากตัวละครเข้าเธคในหนังหลายๆเรื่องเป็นฉากที่ติดตาดีเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้าหากฉากนั้นเป็นฉากที่สามารถแสดงให้เห็นถึงมนตร์เสน่ห์อันน่าหลงใหลของเธค ฉากเธคที่ประทับใจรวมถึงฉากใน
1.ONE NIGHT HUSBAND (A+)
2.FEAR OF HEIGHTS (1994, HOUCHANG ALLAHYARI, A+)
3.DEVIL IN THE FLESH (1962, MARCO BELLOCCHIO, A-) ฉากที่นางเอก (MARUSCHKA DETMERS)พยายามเต้นให้เข้าสเต็ปกับเพลงในเธคที่เปลี่ยนจังหวะไปจากเดิม แต่กลับทำไม่สำเร็จ
4.THE MAGIC GLOVES (2003, MARTIN REJTMAN, A+) ฉากดิสโกเธคในตอนจบของหนังเรื่องนี้ให้ความรู้สึกเหงาๆเศร้าๆ แต่มันก็ให้ความรู้สึกที่ดีมากในขณะเดียวกัน

ส่วนฉากเธคที่ดูแล้วรู้สึกแย่ๆคือฉากใน We Sing to God

8.TORREMOLINOS 73 (2003, PABLO BERGER) A+
ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากในหนังเรื่อง Horny Widow ที่นางเอกนั่งรถไฟเหาะในสวนสนุกแล้วมียมทูตหนุ่มหล่อนั่งรถไฟเหาะตามหลัง

Mads Mikkelsen ซึ่งรับบทเป็นยมทูตหนุ่มหล่อในหนังเรื่อง Horny Widow เป็นดาราชาวเดนมาร์คที่เคยแสดงหนังเรื่อง King Arthur (B+), The Green Butchers, Wilbur Wants to Kill Himself, Open Hearts และ I Am Dina

Candela Pena นางเอกหนังเรื่องนี้ก็เล่นได้น่าประทับใจมากเหมือนกัน เธอเคยแสดงหนังเรื่อง Take My Eyes กับ All About My Mother

9.SEAWARD JOURNEY (2003, GUILLERMO CASANOVA) A+
ชอบตอนจบกับชอบตัวละครในหนังเรื่องนี้มาก ฉากนึงที่รู้สึกขำคือฉากฝนตก แต่เป็นการขำวิธีการถ่ายทำในฉากนั้น เดาว่าคนสร้างหนังเรื่องนี้คงไม่มีทุนสักเท่าไหร่ ฉากฝนตกในหนังเรื่องนี้ถึงได้ใช้มุมกล้องที่ทำให้ผู้สร้างเปลืองน้ำน้อยที่สุด

10.PLATFORM (2001, JIA ZHANGKE) A+
11.A TALKING PICTURE (2003, MANOEL DE OLIVEIRA) A+
12.BURNING DREAMS (2003, WAYNE PENG) A+
13.DAUGHTER FROM DANANG (2002, GAIL DOGIN + VICENTE FRANCO) A+
หนังสารคดีเรื่องนี้มี “ฉากไคลแมกซ์” ที่ชัดเจนมาก และเป็นฉากไคลแมกซ์ที่สะเทือนใจจริงๆ หนังเรื่องนี้เหมาะมากที่นำมาฉายในเทศกาลนี้เทียบกับหนังเรื่อง OR และ THE SILENCE OF THE PALACE เพราะในขณะที่ OR แสดงให้เห็นถึงลูกสาวที่เสียสละเพื่อแม่ และ THE SILENCE OF THE PALACE แสดงให้เห็นถึงแม่ที่เสียสละเพื่อลูกสาว DAUGHTER FROM DANANG กลับสะท้อนความจริงในอีกแง่มุมนึง และเป็นแง่มุมที่ดิฉันไม่สามารถเข้าข้างใครได้เลยด้วย ขณะที่ดูหนังเรื่อง OR ดิฉันรู้สึกว่าถ้าหากดิฉันเป็นแม่หรือลูกสาวในหนังเรื่อง OR ดิฉันก็คงไม่ประพฤติตัวเหมือนอย่างตัวละคร 2 คนนี้ (และนั่นก็อาจทำให้ปัญหาของตัวละครใน OR ลดน้อยลง) แต่ใน DAUGHTER FROM DANANG ดิฉันกลับรู้สึกว่าถ้าหากดิฉันเป็นแม่ ดิฉันก็คงทำอย่างนั้น และถ้าหากดิฉันเป็นลูกสาว ดิฉันก็คงทำอย่างนั้น และนั่นแสดงให้เห็นว่าสถานการณ์ใน DAUGHTER FROM DANANG เป็นสถานการณ์ที่ถ้าหากเกิดขึ้นกับตัวดิฉันเอง ดิฉันก็คงไม่สามารถทำอะไรให้มันดีขึ้นมาได้เช่นกัน มันเป็นสถานการณ์ที่เลวร้าย แต่ดิฉันไม่สามารถพูดได้เลยว่า “ใครผิด”

14.SUITE HABANA (2003, FERNANDO PEREZ) A+ หรือ “แอบดูผู้ชายคิวบา”
ตอนแรกๆจะรู้สึกเบื่อหนังเรื่องนี้เล็กน้อย เพราะ “จังหวะชีวิต” ของคนในช่วงเวลากลางวันเป็นจังหวะที่ไม่น่ารื่นรมย์สักเท่าไหร่ แต่พอพระอาทิตย์ตกดินไปแล้ว จังหวะชีวิตของคนก็ดูงดงามมากขึ้น

คิวบาเป็นแหล่งที่ให้กำเนิดหนังสารคดีหรือหนังกึ่งสารคดีที่น่าสนใจมากมายหลายเรื่องจริงๆ และก็เป็นที่น่ายินดีที่ Suite Habana เลือกใช้วิธีการนำเสนอที่ไม่น่าจะซ้ำซากกับหนังสารคดีเรื่องอื่นๆ (ดูบางฉากแล้วนึกไปถึงหนังที่สร้างจากเรื่องแต่งอย่าง HUKKLE (2002, GYORGY PALFI, A-) ที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างภาพกิจวัตรประจำวันกับเสียงดนตรีเหมือนกัน)

หนัง (กึ่ง) สารคดีคิวบาที่น่าสนใจ
1.I AM CUBA (1964, MIKHAIL KALATOZOV, A+)
2.BALSEROS (2002, CARLOS BOSCH + JOSE MARIA DOMENECH, A+)
3.BUENA VISTA SOCIAL CLUB (WIM WENDERS, A+)
4.LOOKING FOR FIDEL (2004, OLIVER STONE)
5.BAD CONDUCT (1984, NESTOR ALMENDROS + ORLANDO JIMENEZ LEAL)

15.HYENAS (1992, DJIBRIL DIOP MAMBETY) A+ (ดีวีดีหนังเรื่องนี้มีขายที่จตุจักร)
ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้สง่ามาก หนังเรื่องนี้คงเป็นหนังที่ต้องการส่งสารบางอย่างและอาจเป็นหนังที่สะท้อนสภาพสังคมการเมืองด้วยเช่นกัน อย่างไรก็ดี ตัวละครผู้หญิงในหนังเรื่องนี้สามารถยกเอาไปใส่ในหนังแร่ดๆอย่าง Kill Bill ได้สบาย เพราะนางเอกในหนังเรื่องนี้เป็นผู้หญิงที่ต้องการแก้แค้นผู้ชาย เธอมีมือเหล็กและมีขาเหล็ก เธอเป็นคนเดียวที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์เครื่องบินตก เธอจัดการกับผู้ชายที่มีส่วนทำร้ายเธอไปแล้ว 2 คน และขณะนี้เธอกำลังจะจัดการกับคนที่ 3 เธอมีลูกสมุนเป็นผู้หญิงผิวดำ 3 คนที่ดูสง่ามากๆ และมีลูกสมุนเป็นหญิงญี่ปุ่น 1 คน และเธอต้องเผชิญหน้ากับกลุ่มผู้หญิงแอฟริกันที่ใส่เสื้อผ้าสีสันฉูดฉาดและประกาศว่าจะปกป้องผู้ชายที่เธอต้องการจะฆ่า จริงๆแล้วสถานการณ์ในหนังเรื่องนี้เอื้อต่อการดัดแปลงเป็นหนังแนวกำลังภายในได้สบายมากๆ

ประโยคที่ชอบมากจากหนังเรื่องนี้คือประโยคที่นางเอกพูดว่า “The world turned me into a whore, so now I’m going to turn the world into a whorehouse.”

16.WHISKY ROMEO ZULU (2003, ENRIQUE PINEYRO) A+
17.THE COLDEST DAY (2003, XIE DONG) A
18.THE FIFTH REACTION (2003, TAHMINEH MILANI) A
ฉากที่ชอบมากคือฉากที่เจ้าพ่อรถบรรทุกเกิดอาการจ๋อยเมื่อปะทะกับเจ้าแม่ท่าเรือ
19.ALI ZAOUA: PRINCE OF THE STREETS (2000, NABIL AYOUCH) A
20.TWO WOMEN (1999, TAHMINEH MILANI) A
21.THE SILENCE OF THE PALACE (1994, MOUFIDA TLATLI) A
22.ALEXANDRIE…NEW YORK (2004, YOUSSEF CHAHINE) A
ฉากที่ชอบมากคือฉากที่พระเอกในวัยหนุ่มตบตีกับคุณป้าขายไส้กรอกชาวอาร์เมเนีย และฉากที่นางเอกในวัยสาวด่าทอกับหญิงสาวเจ้าของบ้านเช่า
23.CZECH DREAM (2004, VIT KLUSAK + FILIP REMUNDA) A-
24.WEST BEIRUT (1998, ZIAD DOUEIRI) A-
25.THE PLIGHT (2002, R. SARATH) A-
26.LOST EMBRACE (2004, DANIEL BURMAN) A-

หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของครอบครัวชาวยิวที่อพยพจากยุโรปเพื่อมาอาศัยอยู่ในอาร์เจนตินา และก็เลยทำให้นึกถึงหนังที่ชอบมากอีกเรื่องนึง ซึ่งก็คือ IMAGES OF THE ABSENCE (1998, GERMAN KRAL, A+) ที่เล่าเรื่องของชายหนุ่มเชื้อสายผู้อพยพในอาร์เจนตินาเหมือนกัน ชายหนุ่มคนนี้มีปัญหาพ่อกับแม่ทะเลาะกัน และชายหนุ่มคนนี้ยังผูกพันกับคนรุ่นปู่ย่าตายายเหมือนกับพระเอก LOST EMBRACE ด้วย

27.BAD BOYS – A TRUE STORY (2003, ALEKSI MAKELA) A-
28.THE EDUKATORS (2004, HANS WEINGARTNER) B+
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาบางส่วนพาดพิงไปถึงผู้ก่อการร้ายชาวเยอรมันในทศวรรษ 1970 และก็เลยทำให้นึกได้ว่าหนังในช่วงไม่กี่ปีมานี้มีหลายเรื่องที่พาดพิงไปถึงผู้ก่อการร้ายเยอรมันในทศวรรษ 1970 ด้วยเหมือนกัน ไม่รู้ว่าเพราะอะไรประเด็นนี้ถึงกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง

หนังในระยะนี้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ก่อการร้ายเยอรมันในทศวรรษ 1970
1.THE STATE I AM IN (2000, CHRISTIAN PETZOLD) A+
2.WHAT TO DO IN CASE OF FIRE (2001, GREGOR SCHNITZLER)
3.BAADER (2002, CHRISTOPHER ROTH)
4.THE INVISIBLE CIRCUS (2001, ADAM BROOKS) C
และอาจจะรวมไปถึงหนังเรื่อง THE RASPBERRY REICH ( 2004, BRUCE LABRUCE) ด้วย

น่าสนใจเหมือนกันว่าในขณะที่เยอรมนีหันมาสร้างหนังเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายในทศวรรษ 1970 อิตาลีระยะนี้ก็หันมาสร้างหนังเกี่ยวกับผู้ก่อการร้ายของประเทศตัวเองในทศวรรษ 1970 ด้วยเหมือนกัน ซึ่งได้แก่เรื่อง GOOD MORNING NIGHT (2003, MARCO BELLOCCHIO) และ THE BEST OF YOUTH (2003, MARCO TULLIO GIORDANA, B+)

ขณะที่ดู The Edukators ก็จะรู้สึกลุ้นเอาใจช่วยตัวละครในหนังมากพอสมควร แต่ในขณะเดียวกัน ก็จะรู้สึกไม่ค่อยชอบนิสัยตัวละครในหนังสักเท่าไหร่ เพราะตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นคนที่ดูเหยาะแหยะยังไงไม่รู้ ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ทำได้ดีมากๆในการสร้างตัวละครที่ “ไม่จริงจังกับอุดมการณ์” และตัวละครประเภทที่ “ทรยศต่ออุดมการณ์” ตัวละครใน The Edukators เป็นตัวละครที่ดู “น่าสมเพช” จริงๆ โดยเฉพาะถ้าหากเทียบกับตัวละครแนวขบถต่อสังคมในทศวรรษ 1970 อย่างตัวละครใน THE THIRD GENERATION (1979, RAINER WERNER FASSBINDER, A+) และ THE SECOND AWAKENING OF CHRISTA KLAGES (1978, MARGARETHE VON TROTTA, A+)

ดู The Edukators แล้วทำให้นึกถึงหนังเยอรมันเรื่อง TRIAL BY FIRE (1998, JANEK RIEKE, B/B-) ด้วย เพราะนางเอกหนังเรื่อง TRIAL BY FIRE เป็น eco-terrorist ที่ชอบบุกเข้าไปในแปลงปลูกพืชจีเอ็มโอ และ “อุจจาระ” ใส่พืชในแปลงนั้น

Daniel Bruehl ได้โชว์ฝีมือการแสดงใน The Edukators มากพอสมควร ดูเขาแล้วนึกไปถึงเสน่ห์น่ารักๆของ Ewan McGregor ยุคที่เล่นหนังเรื่อง Trainspotting

29.NEAPOLITAN HEART (2002, PAOLO SANTONI) B+
30.AVIV (2003, TOMER HEYMANN) B+
31.LAST SCENE (2003, HIDEO NAKATA) B+
ดูแล้วเอาใจช่วยตัวละครในฉากช่วงท้ายๆของเรื่องมาก และก็ทำให้นึกไปถึงหนังญี่ปุ่นเรื่อง LEAVE IT TO THE NURSES ที่เข้ามาฉายในกรุงเทพเมื่อไม่นานมานี้ด้วย (ไม่รู้ Last Scene ล้อหนังเรื่องนั้นหรือเปล่า) นอกจากนี้ ดู LAST SCENE แล้วยังทำให้นึกไปถึงคู่พระคู่นาง MOMOE YAMAGUCHI กับ TOMOKAZU MIURA ด้วยเหมือนกัน ถ้าจำไม่ผิด เคยได้ยินว่า MOMOE กับ TOMOKAZU เล่นละครด้วยกันบ่อยมาก พอทั้งสองแต่งงานกันแล้ว MOMOE เลิกเล่นละครไป ละครที่ TOMOKAZU แสดงคู่กับดาราหญิงคนอื่นๆก็ไม่ค่อยประสบความสำเร็จเท่าไหร่

ดู LAST SCENE กับ ALEXANDRIE…NEW YORK แล้วนึกไปถึงมนตร์เสน่ห์ของโลกภาพยนตร์ยุคเก่าด้วยเหมือนกัน นอกจากนี้ ดู LAST SCENE แล้วก็นึกไปถึงหนังเกี่ยวกับนักแสดงชายแก่ใกล้ปลดระวางเรื่อง I’M GOING HOME (2001, MANOEL DE OLIVEIRA, A+) ด้วย ทั้งสองเรื่องนี้เปิดโอกาสให้นักแสดงชายสูงอายุได้แสดงความสามารถออกมาอย่างเต็มที่จริงๆ

32.WE SING TO GOD (2002, ZOLTAN SPIRANDELLI) B+
33.SHOUF SHOUF HABIBI! (2003, ALBERT TER HEERDT) B+
34.COLUMBIA – THE TRAGIC LOSS (2004, NAFTALY GLIKSBERG) B+
35.THE COLOUR OF HAPPINESS (2003, JOZSEF PACSKOVSZKY) B+
หนังเรื่องนี้สีสันฉูดฉาดสะใจจริงๆ นี่เป็นหนังที่ใช้ตัวละครหลายๆตัวที่พยายามแสวงหาความสุขเหมือนกับ A HELL OF A DAY (2001, MARION VERNOUX, A-) และแสดงให้เห็นคนหลายเชื้อชาติหลากเผ่าพันธุ์ที่อาศัยอยู่รวมกันในฮังการี บางฉากในหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงหนังของ EMIR KUSTURICA ด้วย แต่พลังทางอารมณ์ในหนังเรื่องนี้มันดูขาดๆไป

36.PRESENCE (2003, JAN TROELL) B
37.FADO BLUES (2004, LUIS GALVAO TELES) C

No comments: