Monday, May 01, 2006

PRAYING MANTIS (JACK GOLD, A+)

4.Elevator to the Gallows (1957, หลุยส์ มาลล์)
http://images.amazon.com/images/P/B000E5LEVA.01.LZZZZZZZ.jpg

หนังขาวดำเรื่องนี้นำแสดงโดยฌานน์ มอโร (Querelle) ในบทของผู้หญิงที่ส่งชู้รักที่เป็นอดีตทหาร (มอริซ โรเนต์) ไปฆ่าสามีผู้ร่ำรวยของตัวเอง เธออาจดูไม่ค่อยโหดเหี้ยมเท่าไหร่นักเมื่อเทียบกับฆาตกรหญิงในหนังเรื่องอื่นๆ แต่การแสดงของมอโรในเรื่องนี้น่าทึ่งมาก โดยเฉพาะในฉากที่เธอเดินเตร็ดเตร่ไปตามท้องถนนยามค่ำคืนเพื่อหาตัวชู้รักหนุ่มหล่อ โดยหารู้ไม่ว่าชู้รักของเธอกำลังติดอยู่ในลิฟท์

อีกจุดที่ดิฉันชอบในหนังเรื่องนี้ก็คือพล็อตรองของเรื่องซึ่งเกี่ยวกับหนุ่มสาวคู่หนึ่ง (จอร์จส์ ปูจูลี กับ โยรี แบร์แตง) ที่ขโมยรถสปอร์ตของชู้รักหนุ่มไป และหนุ่มสาวคู่นี้ก็ได้กระทำการฆาตกรรมด้วย

ดิฉันชอบ “บรรยากาศ” ในเรื่องนี้อย่างมากๆ และชอบฝีมือการถ่ายภาพของอองรี เดอกา ในเรื่องนี้ นอกจากนี้ นักวิจารณ์บางคนยังตั้งข้อสังเกตว่าหนังเรื่องนี้แฝงประเด็นทางการเมือง และสิ่งที่น่าที่งมากในหนังเรื่องนี้ก็คือดนตรีประกอบแนวแจ๊ซที่เป็นฝีมือของไมล์ส เดวิส

หนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากนิยายของโนเอล คาเลฟ และหลุยส์ มาลล์เริ่มต้นกำกับหนังเรื่องนี้ขณะที่เขามีอายุเพียง 24 ปี โดยเขากล่าวว่าเขาได้รับอิทธิพลจากทั้งโรแบร์ต เบรซอง และแอลเฟรด ฮิทช์ค็อก ในการกำกับหนังเรื่องนี้


5.The Bride Wore Black (1967, ฟรังซัวส์ ทรุฟโฟต์, ถ่ายภาพโดยราอูล คูตาร์ด)
http://images.amazon.com/images/P/B000053VBL.01.LZZZZZZZ.jpg

หากพูดถึงฌานน์ มอโรในบทของสาวเลือดเย็นแล้ว ก็จำเป็นต้องพูดถึงหนังเรื่องนี้ด้วย ในเรื่องนี้มอโรรับบทเป็นจูลี โคห์เลอร์ หญิงสาวที่พบว่าสามีของตัวเองถูกยิงตายอย่างไร้เหตุผลบนบันไดโบสถ์หลังจากเขาเพิ่งแต่งงานกับเธอเพียงแป๊บเดียว เธอออกตามล่าฆ่าผู้ชายทุกคนที่เกี่ยวข้องกับการยิงครั้งนั้นด้วยวิธีการที่โหดเหี้ยมเลือดเย็นมาก

จริงๆแล้วดิฉันก็ไม่ค่อยเห็นชอบกับการแก้แค้นของนางเอกหนังเรื่องนี้สักเท่าไหร่ แต่ก็เดาว่าบางทีผู้สร้างหนังเรื่องนี้อาจจะจงใจสร้างความรู้สึกเช่นนั้นก็เป็นได้ ผู้สร้างหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ต้องการให้ผู้ชมสงสารหรือเข้าข้างนางเอกเพียงฝ่ายเดียว แต่ต้องการให้ผู้ชมสงสารเห็นใจผู้ชายที่ถูกนางเอกฆ่าด้วย

หนังเรื่องนี้สร้างจากนิยายของคอร์เนล วูลริชเหมือนกับ Mississippi Mermaid (1969, ฟรังซัวส์ ทรุฟโฟต์) โดยทรุฟโฟต์บอกว่าหนังเรื่องนี้เกิดจากการที่เขาพยายามผสานแนวทางหนังของปรมาจารย์ด้านภาพยนตร์สองคนที่เขาชื่นชอบเข้าด้วยกัน ซึ่งก็คือแอลเฟรด ฮิทช์ค็อก กับฌอง เรอนัวร์

ทางด้านนักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่าหนังเรื่องนี้มีการพาดพิงไปถึงหนังหลายเรื่องของฮิทช์ค็อก โดยเฉพาะเรื่อง Marnie (1964) ที่นำแสดงโดยทิปปี เฮเดรน กับฌอน คอนเนอรี และฉากตอนจบใน The Bride Wore Black ก็ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหนังเรื่อง The Truth About Charlie (2002, โจนาธาน เด็มมี) ถึงแม้ว่าเนื้อหาส่วนใหญ่ใน The Truth About Charlie จะดัดแปลงมาจากหนังเรื่อง Charade (1963, สแตนลีย์ โดเนน) (อ่านแล้วงงมั้ยคะ)
http://images.amazon.com/images/P/6305839395.01.LZZZZZZZ.jpg

สิ่งที่ดิฉันประทับใจมากๆใน The Bride Wore Black ก็คือเครื่องแต่งกายของฌานน์ มอโรในบางฉาก นอกจากนี้ ฌอง-คล็อด ไบรอาลี (Le Beau Serge) ดาราหนุ่มสุดหล่อขวัญใจของดิฉันก็ร่วมแสดงในเรื่องนี้ด้วย

The Bride Wore Black เป็นหนังของทรุฟโฟต์ที่ดิฉันชอบมากเป็นอันดับสองในตอนนี้ค่ะ ส่วนอันดับหนึ่งคือ Two English Girls (1971) ที่นำแสดงโดยฌอง-ปิแอร์ เลโอด์ ในบทของหนุ่มหล่อชาวฝรั่งเศสที่พัวพันในรักสามเส้ากับสองสาวชาวอังกฤษ (กิก้า มาร์คคัม กับสเตซี ตองเดแตร์) โดยตัวละครสามคนในเรื่องนี้ต่างก็เกรงอกเกรงใจซึ่งกันและกัน และไม่อยากสร้างความผิดหวังเจ็บช้ำน้ำใจให้แก่คนอื่นๆ ดังนั้นความรักของทั้งสามจึงไม่อาจสมหวังได้สักที
http://images.amazon.com/images/P/1572524839.01.LZZZZZZZ.gif

ฌานน์ มอโร เป็นหนึ่งในดาราหญิงที่ดิฉันชอบมากค่ะ นอกจากใน The Lovers, Elevator to the Gallows, The Bride Wore Black และ Jules and Jim แล้ว ผลงานการแสดงของมอโรที่สุดยอดมากๆในความเห็นส่วนตัวของดิฉันก็รวมถึง

(1) Nathalie Granger (1972, มาร์เกอริต ดูราส์)

หนังฝรั่งเศสเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาวแก่สองคน (มอโร กับ ลูเซีย โบเซ) ที่อาศัยอยู่ในบ้านกับเด็กหญิงชื่อนาตาลี โดยหนังจะเน้นแสดงให้เห็นถึงกิจวัตรประจำวันของคนในบ้านนี้ที่เชื่องช้าและเหมือนกับตกอยู่ภายใต้มนตร์สะกดอะไรสักอย่าง โดยมีเสียงรายงานข่าวจากวิทยุเกี่ยวกับเรื่องฆาตกรที่เพ่นพ่านอยู่ในละแวกนั้นแทรกเข้ามาให้ได้ยินเป็นระยะๆ และกิจวัตรประจำวันของคนในบ้านก็ถูกขัดจังหวะไประยะหนึ่งเมื่อมีเซลส์แมนขายเครื่องซักผ้า (เจอราร์ด เดอปาร์ดิเออ) พยายามจะขายสินค้าให้แก่สาวแก่สองคนนี้ แต่ก็ทำไม่สำเร็จ เขาเผ่นออกมาจากบ้านหลังนั้นในเวลาต่อมาในสภาพที่เหมือนกับเพิ่งเห็นผี

Nathalie Granger เป็นหนังที่เต็มไปด้วยบรรยากาศที่น่าดื่มด่ำ และทำให้ดิฉันรู้สึกเหมือนกับตกอยู่ในห้วงภวังค์ลี้ลับ หนังเรื่องนี้เหมือนกับหนังทุกๆเรื่องของมาร์เกอริต ดูราส์ นั่นก็คือเป็นหนังที่ยากจะหาคำจำกัดความ และเป็นหนังที่แทบไม่มีเนื้อเรื่อง, พล็อตเรื่อง หรือเหตุการณ์สำคัญใดๆ ฉากที่ลืมไม่ลงในหนังเรื่องนี้คือฉากการเก็บกวาดทำความสะอาดโต๊ะอาหาร เพราะดูราส์สามารถทำให้ฉากกิจกรรมที่ธรรมดาๆนี้กลายเป็นหนึ่งในฉากกิจกรรมที่งดงามที่สุดในโลกได้

Nathalie Granger ถ่ายทำที่บ้านของดูราส์นอกกรุงปารีส ทั้งนี้ นักวิจารณ์บางคนนำหนังเรื่องนี้ไปตีความในแง่สิทธิสตรีด้วย

(2) La Notte (1961, ไมเคิลแองเจโล อันโตนิโอนี)

ฌานน์ มอโร รับบทเป็นสาวสังคมผู้เบื่อหน่ายชีวิต ขณะที่สามีของเธอ (มาร์เซลโล มาสโตรยานนี) เป็นนักเขียนที่ประสบปัญหาสมองตื้อเขียนอะไรไม่ออก ทั้งสองมีปัญหาเข้ากันไม่ได้ และหนังเรื่องนี้ก็นำเสนอชีวิตของ 2 คนนี้ภายในเวลา 24 ชั่วโมงขณะที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองกำลังจะล่มสลาย

La Notte เป็นภาคสองในหนังไตรภาคของอันโตนิโอนีที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความแปลกแยกของชนชั้นกลาง โดยภาคแรกคือ L’Avventura (1960) และภาคสามคือ The Eclipse (1962) แต่บางคนจัดให้หนังชุดนี้เป็นหนังจตุรภาค โดยนับเอา The Red Desert (1964) เป็นภาคสี่ด้วย

ดิฉันชอบภาคสามที่นำแสดงโดยอเลน เดอลอง มากที่สุดค่ะ แต่ก็ชอบ La Notte มากเช่นกัน โดยเฉพาะในฉากที่มาสโตรยานนีพบกับสาวสวยคนหนึ่ง (โมนิกา วิตตี) ในงานเลี้ยง

(3) Viva Maria! (1965, หลุยส์ มาลล์)

ฌานน์ มอโร กับบริจิตต์ บาร์โดต์ รับบทเป็นสองสาวนักร้องนักเต้นที่จับพลัดจับผลูกลายมาเป็นนักปฏิวัติเรียกร้องความเป็นธรรมในภูมิภาคละตินอเมริกาในช่วง 100 ปีก่อน หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยฉากฮาๆมากมาย และบทของมอโรกับบาร์โดต์ในเรื่องนี้ก็เป็นบทของผู้หญิงที่มีชีวิตชีวาและกล้าหาญชาญชัยมาก

นักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่าจุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือฝีมือการถ่ายภาพของอองรี เดอกา เพราะเขาสามารถถ่ายเหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้ให้ออกมาดูสนุกสนานครื้นเครงเปี่ยมไปด้วยสีสันเหมือนกับงานคาร์นิวัล นอกจากนี้ นักวิจารณ์ยังชื่นชมบทเพลงที่สองสาวนางเอกขับร้องในเรื่องนี้ด้วย โดยบทเพลงเหล่านี้เป็นผลงานการประพันธ์ของจอร์จส์ เดอเลรู (L’Immortelle)

การประกบคู่กันของมอโรกับบาร์โดต์ในเรื่องนี้เป็นการประกบคู่กันที่น่าทึ่งมาก เพราะบาร์โดต์มีภาพพจน์เป็นลูกแมวยั่วสวาท ในขณะที่มอโรมีภาพพจน์เป็นสาวเคร่งขรึมเด็ดขาดฉลาดจริงจัง ดังนั้นการที่ทั้งสองมารับบทนำคู่กันจึงเป็นการสร้างสมดุลให้แก่กันได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ มอโรยังมีสมญานามว่าเป็น “thinking man’s Bardot” อยู่แล้ว

ฌอง-คล็อด คาร์รีเยร์ มือเขียนบทขาประจำของหลุยส์ บุนเยล มาร่วมเขียนบทหนังเรื่องนี้ ส่วนสาเหตุสำคัญอีกอันหนึ่งที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้ก็คือความหล่อเหลาเอามากๆของจอร์จ แฮมิลตัน (Where the Boys Are) พระเอกของเรื่องค่ะ
http://www.bradtrent.com/portrait1/portrait102.html


6.”ผู้หญิงแย่งสับ” หรือ Web of Deception (1989, David Chung, อำนวยการสร้างโดย ฉีเคอะ)
http://www.brigittelin.com/WebOfDeception.htm
http://www.sogoodreviews.com/reviews/webofdeception.htm
http://www.sogoodreviews.com/reviews/wod1.jpg
http://www.sogoodreviews.com/reviews/wod2.jpg
http://www.sogoodreviews.com/reviews/wod4.jpg

จริงๆแล้วผู้หญิงในหนังฮ่องกงเรื่องนี้ไม่ค่อยโหดเท่าไหร่ แต่หนังเรื่องนี้เป็นหนึ่งในหนังฮ่องกงที่ชอบที่สุดในชีวิตค่ะ เนื้อหาของหนังเกี่ยวกับเจน หลิน (หลินชิงเสีย) ทนายความที่ประสบความสำเร็จและจะย้ายไปอยู่แคนาดา แต่เธอถูกปองร้ายจากหญิงสาวสองคน โดยคนหนึ่งชื่อเมย์ (พอลลีน หว่อง) ซึ่งเป็นผู้ช่วยของเธอเอง และอีกคนเป็นสาวขี้คุกชื่อแคท (หวังจู่เสียน) ที่กำลังต้องการเงินก้อนใหญ่ โดยแคทนั้นต้องการจะฆ่าเจนเพราะแคทเข้าใจว่าเจนฆ่าพี่สาวฝาแฝดของเธอที่ชื่อควีนนี (หวังจู่เสียน)

ตัวละครที่ดิฉันชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือเมย์ค่ะ เธอเกลียดเจนก็จริง แต่เธอก็ไม่เกลียดถึงขั้นที่จะฆ่าเจนให้ตาย และความสนุกของหนังเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับความลังเลสองจิตสองใจของเมย์ว่าตอนนี้ฉันควรจะช่วยชีวิตเจนดีมั้ย หรือว่าตอนนี้ฉันควรจะช่วยฆ่าเจนดี

เหตุการณ์ส่วนใหญ่ของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นภายในช่วงเวลาคืนเดียว ซึ่งเป็นคืนที่ตัวละครสำคัญทั้งสามคนมาปะทะกันในบ้านของเจน โดยมีเพื่อนหญิงคนหนึ่งของเจน (เอลิซาเบธ ลี) แวะมาหาเจนที่บ้านในคืนนั้นด้วย เพื่อนหญิงคนนี้ก็เลยพลอยได้รับความซวยไปด้วย

ฉากที่ดิฉันชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่ตัวละครบางคนพยายามหาทางเบี่ยงเบนความสนใจของตัวละครคนอื่นๆไม่ให้หันไปเห็นศพค่ะ และฉากที่ตัวละครหญิงบางคนหยิบมีดในครัวขึ้นมาต่อสู้กันอย่างรุนแรง

ถ้าพูดถึงหนังทริลเลอร์และหนังบู๊เกี่ยวกับผู้หญิงตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา ดิฉันชอบหนังทำนองนี้จากฮ่องกงมากเลยค่ะ โดยหนังฮ่องกงที่มีตัวละครผู้หญิงบู๊ที่ดิฉันชอบมากรวมถึงเรื่อง

(1) A Better Tomorrow III (1989, ฉีเคอะ)
http://images.amazon.com/images/P/6305020868.01.LZZZZZZZ.jpg

ดิฉันชอบบทของเหมยเยี่ยนฟางในหนังเรื่องนี้มากเลยค่ะ เธอรับบทเป็นเจ้าแม่นักเลงในไซ่ง่อนที่ให้ความช่วยเหลือแก่โจวเหวินฟะในการพาครอบครัวของเขาออกจากไซ่ง่อน

(2) So Close (2002, Corey Yuen)

(3) Naked Weapon (2002, เฉินเสี่ยวตง)
http://images.amazon.com/images/P/B00011V8HM.01.LZZZZZZZ.jpg

(4) “หัวใจเธอมันน่ากราบ” หรือ Black Cat (1991, Stephen Shin)

หนังเรื่องนี้เป็นการนำหนังฝรั่งเศสเรื่อง La Femme Nikita (1990, ลุค เบสซง) มารีเมคใหม่ โดยมีเยิ่นต๊ะหัวนำแสดง จริงๆแล้วหนังฮ่องกงเรื่องนี้ไม่ใช่หนังที่ดีหรือสนุกสุดขีด แต่ความห่วยบางอย่างในหนังเรื่องนี้กลับส่งผลให้หนังเรื่องนี้สร้างอารมณ์ฮาโดยที่ผู้กำกับอาจไม่ได้ตั้งใจ และความฮาดังกล่าวก็ส่งผลให้หนังฮ่องกงเรื่องนี้น่าจดจำยิ่งกว่า Point of No Return (1992, จอห์น แบดแฮม) ที่เป็นการนำ La Femme Nikita มารีเมคเหมือนกัน

(5) “ตายกี่ชาติก็ขาดเธอไม่ได้” หรือ Savior of Souls (1992, David Lai, Corey Yuen)

เหมยเยี่ยนฟางรับบทบู๊สะบั้นหั่นแหลกในหนังเรื่องนี้ เธอต้องต่อสู้กับจิ้งจอกเงิน (กั๋วะฟู่เฉิง) ซึ่งถือเป็นหนึ่งในผู้ร้ายที่หล่อที่สุดในโลก โดยมีหลิวเจียหลิงมาทำท่าสง่างามในหนังเรื่องนี้ด้วย

AARON KWOK หรือ กั๊วะฟู่เฉิง
http://www.aaronteahut.com/t2photo/newphoto/newpic63/t263ak90.jpg
http://www.asianhunk.net/hk/aaron5.gif
http://wiki.d-addicts.com/static/images/thumb/8/89/400px-Aaron.jpg


(6) Crying Freeman: Dragon from Russia (1990, Clarence Fok Yiu-leung)

หนังเรื่องนี้นำแสดงโดยแซม ฮุย และจางม่านอี้ และมีตัวประกอบเป็นผู้หญิงบู๊หรือผู้หญิงร้ายๆที่มีบุคลิกน่าประทับใจมาก


7.Koma (2004, Law Chi-leung)


หลี่ซินเจี๋ยจาก “คนเห็นผี” ปะทะกับ คาเรนา แลม จาก “ผีอยากให้คนเห็น” (2002, Law Chi-leung) ในหนังเรื่องนี้ โดยในเรื่องนี้หลี่ซินเจี๋ยรับบทเป็นหญิงสาวฐานะดีที่คิดว่าตัวเองเห็นผู้ต้องสงสัยในคดีขโมยไต และเธอคิดว่าซวนหลิง (คาเรนา แลม) มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ โดยซวนหลิงเป็นหญิงสาวฐานะไม่ดีที่พยายามดูแลรักษาแม่ที่มีอาการโคม่า

ทั้งสองสาวดูเหมือนไม่ค่อยถูกโฉลกกันในตอนแรก เนื่องจากซวนหลิงพยายามตามรังควานก่อกวนประสาทของนางเอก แต่เหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นอย่างไม่คาดฝันกับนางเอกในช่วงกลางเรื่องก็ได้เปิดโอกาสให้ทั้งสองสาวเรียนรู้ที่จะเปิดใจเข้าหากันและสร้างมิตรภาพที่ดีต่อกันในเวลาต่อมา

ดิฉันชอบปฏิสัมพันธ์ของตัวละครหญิงสองคนนี้มากค่ะ และชอบฉากไคลแมกซ์ของเรื่องนี้มาก เพราะในฉากไคลแมกซ์ของเรื่องนี้ ดิฉันเริ่มสับสนว่าใครควรจะเรียกว่านางเอกหรือผู้ร้าย และตัวละครหญิงคนไหนกันแน่ที่โหดร้ายกว่ากัน

การแสดงของหลี่ซินเจี๋ยกับคาเรนา แลมก็สุดยอดมากเลยค่ะ หลี่ซินเจี๋ยรับบทเป็นหญิงสาวที่เกือบสติแตก ฉากที่เธอควบคุมอารมณ์ไม่อยู่ในร้านอาหารเป็นฉากที่ทรงพลังมาก ส่วนคาเรนา แลมก็รับบทเป็นหญิงสาวที่ทำหน้าบอกบุญไม่รับ อ่านไม่ออกว่าเธอกำลังคิดดีหรือคิดชั่วอยู่ในใจ แต่รู้แน่ๆว่าเธอไม่ใช่คนที่มีความสุขกับชีวิต

เรย์มอนด์ หว่อง ดาราหนุ่มที่หล่อมากๆจาก Needing You (2000) ร่วมแสดงเป็นผู้ร้ายในเรื่องนี้ด้วย

ดิฉันชอบหนังประเภทที่แสดงให้เห็นถึงปฏิสัมพันธ์ระหว่างนางเอกสองคนแบบหนังเรื่อง Koma ค่ะ โดยหนังหลายเรื่องในกลุ่มนี้จะเป็นหนังเชิงจิตวิทยาเกี่ยวกับการสลับบุคลิกภาพ

หนังที่มีนางเอกสองคนที่ดิฉันชอบสุดๆรวมถึงเรื่อง

(1) Celine and Julie Go Boating (1974, ฌาคส์ รีแวทท์) นำแสดงโดยจูเลียต แบร์โต กับโดมินิก ลาบูริเยร์ ในบทของสองสาวที่มาเจอกันโดยบังเอิญและเริ่มมีการแสดงบทบาทแทนที่กันและกัน
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/49/17/18398292.jpg

บาร์เบท ชโรเดอร์ร่วมแสดงและอำนวยการสร้างหนังเรื่องนี้ และมีมารี-ฟรองซ์ ปิสิเยร์กับบุลล์ โอเจียร์ร่วมแสดงเป็นปีศาจสาวที่สิงสถิตอยู่ในบ้านที่สองสาวนางเอกหลงเข้าไปผจญภัย

เอ็ดดูอาร์โด เด เกรกอริโอร่วมเขียนบทหนังเรื่องนี้ และในเวลาต่อมา เด เกรกอริโอก็นำแรงบันดาลใจที่ได้รับจากหนังเรื่องนี้ไปสร้างเป็นหนังเรื่อง Surreal Estate (1976) โดยให้มารี-ฟรองซ์ ปิสิเยร์ กับบุลล์ โอเจียร์ มารับบทนำในเรื่อง

Celine and Julie Go Boating ถูกนำมาอ้างอิงถึงในหนังเยอรมันตะวันตกเรื่อง Berlin Chamissoplatz (1980, รูดอล์ฟ ธอเม) ด้วย โดยมีฉากที่พระเอก (ฮันส์ ซิชเลอร์ จาก Kings of the Road) กับนางเอกของหนังเยอรมันเรื่องนี้ไปดูหนังเรื่อง Celine and Julie Go Boating ด้วยกัน และพระเอกกับนางเอกก็มีปฏิกิริยาที่แตกต่างกันอย่างมากต่อหนังเรื่องนี้

BERLIN CHAMISSOPLATZ (RUDOLF THOME)
http://www.deutsches-filmhaus.de/filme_einzeln/t_einzeln/thome_rudolf/berlin_chamissoplatz_pl1.jpg

RED SUN (1970, RUDOLF THOME)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000AQ97EE.01.LZZZZZZZ.jpg

PARADISO – SEVEN DAYS WITH SEVEN WOMEN (2000, RUDOLF THOME)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000AQ97C6.01.LZZZZZZZ.jpg


(2) Single White Female (1992, บาร์เบทท์ ชโรเดอร์) นำแสดงโดยบริดเจ็ท ฟอนดา กับเจนนิเฟอร์ เจสัน ลีห์

(3) 301-302 (1995, ปาร์ค ชุล-ซู)

(4) Persona (1966, อิงมาร์ เบิร์กแมน) นำแสดงโดยลิฟ อุลแมน กับบีบี แอนเดอร์สัน

(5) Nabi (2001, Moon Seong-wook, เกาหลีใต้)

(6) Midnight Fly (2001, Chi Leung ‘Jacob’ Cheung) นำแสดงโดยเหมยเยี่ยนฟางกับริซ่า จุนนะ ในบทของสองสาวสองสัญชาติที่พบกันโดยบังเอิญในระหว่างท่องเที่ยวที่แอฟริกาเหนือ ทั้งสองถูกโฉลกกัน แต่ก็เกิดเหตุการณ์ร้ายขึ้น

(7) Praying Mantis (1982, แจ็ค โกลด์) นำแสดงโดยเชอรี ลังฮี กับคาร์เมน ดู โซตอย ในบทของสองสาวผู้ร้ายกาจที่ชิงไหวชิงพริบหักเหลี่ยมเฉือนคมกันอย่างรุนแรง

CARMEN DU SAUTOY
http://www.carmendusautoy.com/filmography4.htm

ACES HIGH (1976, JACK GOLD)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0001FYPZ0.03.LZZZZZZZ.jpg

THE MEDUSA TOUCH (1977, JACK GOLD)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00004I9PF.02.LZZZZZZZ.jpg

ESCAPE FROM SOBIBOR (1987, JACK GOLD)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005Q4EM.01.LZZZZZZZ.jpg

No comments: