Monday, February 19, 2007

FRENCH KISS (2005, ANTONIN PERETJATKO, A+++++)

ตอบคุณ OLIVER
http://celinejulie.blogspot.com/2007/02/frankenstiens-list.html#comments

ชอบ A SCENE AT THE SEA (1991, A) มากๆเหมือนกันค่ะ ตอนดูรอบแรกชอบในระดับประมาณ A- แต่พอได้ดูรอบสองก็ชอบขึ้นมาก

ได้ดู A SCENE AT THE SEA รอบแรกในงาน RETROSPECTIVE ของ KITANO ที่ JAPAN FOUNDATION ตอนดูรอบแรกรู้สึกว่าปรับตัวเองให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ไม่ทัน ยังจูนตัวเองให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ไม่ได้อย่างเต็มที่ เพราะไม่รู้มาก่อนว่าหนังของคิตาโน่จะมีอารมณ์ง่ายๆสบายๆอย่างนี้ด้วย

พอมีโอกาสได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสอง ก็รู้ตัวแล้วว่านี่ไม่ใช่หนังที่จะมารอดูคิตาโน่ปล่อยมุกเด็ดๆ หรืออารมณ์ฮาๆ ห่ามๆ โหดๆ แบบหนังเรื่องอื่น ก็เลยปรับอารมณ์ให้เข้ากับหนังเรื่องนี้ได้อย่างเต็มที่ และรู้สึกว่านี่เป็นหนังที่ชอบมากๆอีกเรื่องนึง สาเหตุสำคัญเป็นเพราะชอบพระเอกด้วยแหละ

หนังอีกเรื่องนึงที่จำได้ว่าต้องใช้เวลาระยะนึงในการจูนตัวเองให้เข้ากับหนัง ก็คือ THE BIRTH OF LOVE (1993, A+++++) ของ PHILIPPE GARREL จำได้ว่าตอนที่ดูหนังเรื่องนี้รอบแรกในช่วง 1 ชั่วโมงแรก รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีบางอย่างแปลกๆ ทั้งๆที่หนังไม่มีอะไรแปลก หนังก็แค่เล่าเรื่องและถ่ายทอดสภาพชีวิตของตัวละครอย่างค่อนข้างตรงไปตรงมาและเรียบง่าย แต่หลังจากผ่านช่วง 1 ชั่วโมงแรกไป ก็ค่อยๆรู้สึกว่าคลื่นสมองของตัวเองหรือจังหวะการหายใจของตัวเอง (หรือบางทีอาจจะเป็นการเดินลมปราณของตัวเอง ฮ่าๆๆๆ) เหมือนเปลี่ยนไป เหมือนกับว่ามันถูกจูนให้เข้ากับจังหวะของหนังได้อย่างสนิทลงตัว และรู้สึกว่าทุกๆวินาที ทุกๆช็อต ทุกๆอย่างในหนังเรื่องนี้มันให้ความรู้สึกที่จรุงจิตพิสมัยมากๆ มันงดงามอย่างสุดๆ ทั้งๆที่หนังก็มีอะไรแตกต่างไปจากช่วง 1 ชั่วโมงแรกเลย แต่มันเหมือนกับว่าหนังเรื่องนี้มันมี “จังหวะ” หรือมันมี “ความถี่คลื่น” อะไรบางอย่างที่ดิฉันไม่คุ้นชิน แต่พอใช้เวลาระยะหนึ่ง พอเริ่มปรับสภาพจิตสภาพความคิดของตัวเองให้เข้ากับหนังได้แล้ว มันก็จะกลายเป็นอะไรที่วิเศษสุดมากๆ

ตอนหลังได้มีโอกาสดูหนังเรื่องนี้รอบสอง ก็รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มันงามสุดๆจริงๆ มันไม่ใช่ความงดงามด้านภาพนะ แต่มันเป็นความงดงามทางความรู้สึก


Copy from screenout webboard
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=4200


ตอบน้อง MATT

ขอบคุณมากค่ะสำหรับลิงค์ของ CAROLEE SCHNEEMANN ตอนนี้ดิฉันรู้สึกว่าเธอเป็นผู้กำกับภาพยนตร์และศิลปินที่น่าสนใจมากๆคนนึงค่ะ

ได้ลองอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ CAROLEE SCHNEEMANN แล้วพบจุดที่น่าสนใจมาก อย่างเช่น

1.เธอเคยกำกับการแสดงละครเวทีเรื่อง MEAT JOY (1964) ที่กรุงปารีส แต่การแสดงของเธอคงไปกระตุ้นอารมณ์อะไรบางอย่างของคนดูคนนึงเข้า เพราะอยู่ดีๆผู้ชมคนนึงในโรงละครก็ลุกขึ้นมาจากที่นั่งมาบีบคอเธอ กะจะฆ่าเธอให้ตาย และคนดูคนอื่นๆในโรงละครก็นึกว่านั่นเป็นส่วนหนึ่งของการแสดง อย่างไรก็ดี โชคยังดีที่มีผู้ชมหญิง 3 คนที่คิดว่านั่นไม่ใช่การแสดง และรีบเข้ามาช่วยชีวิตเธอเอาไว้ได้


2.ชอบประโยคนึงของเธอมากๆ นั่นก็คือประโยคที่ว่า

“Is this what you’re so scared of: this moist pussy? Is this the Terrifying Other – the clitoris that has to be excised or chopped off or rendered mute?”


3.การแสดงละครเวทีของเธออีกเรื่องนึงที่น่าดูอย่างสุดๆก็คือ INTERIOR SCROLL (1975-1977) โดยในการแสดงละครเวทีเรื่องนี้ CAROLEE SCHNEEMANN จะยืนเปลือยกายต่อหน้าผู้ชม แล้วเธอก็จะดึงม้วนกระดาษที่ยาวมากออกมาจากอวัยวะเพศหญิงของเธอ และอ่านข้อความที่ได้รับการจารึกไว้ในม้วนกระดาษนั้น โดยม้วนกระดาษนั้นมีชื่อว่า VULVIC SPACE และมีเนื้อหาเกี่ยวกับ THE ABSTRACTION OF FEMALE BODY AND ITS LOSS OF MEANINGS


--พูดถึงเรื่องร่างกายของผู้หญิงแล้ว ใครว่างวันพรุ่งนี้ก็ขอเชิญให้ไปร่วมงานนี้ได้นะคะ

http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=55903

‘รอยแหวกบนกระโปรงกับเนื้อในของอำนาจ’
วงเสวนาว่าด้วย ความยอกย้อนของการควบคุมเพศและร่างกายผู้หญิง
วันอังคารที่ 20 กุมภาพันธ์ 2550 เวลา 17.00-19.00 น.
ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

วัตถุประสงค์ของการจัดเสวนาในครั้งนี้ ไม่ใช่เพื่อโต้เถียงกันในประเด็นเฉพาะหน้าเรื่องนักแสดงหญิงที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มุ่งชี้ให้เห็นว่ากรณีดังกล่าวเป็นเพียงหนึ่งใน "อาการ " ของสังคมที่มีการช่วงชิงและสถาปนาอำนาจด้านต่าง ๆ ในกรณีนี้คืออำนาจทางเศรษฐกิจ (กรณีธุรกิจบันเทิง และสื่อมวลชนที่ขายภาพ ตีข่าว และขายข่าวซ้ำ) กับอำนาจความเป็นผู้นำทาง "ศีลธรรม " และผู้ธำรงรักษาไว้ซึ่ง " วัฒนธรรมอันดีงาม" (คณาจารย์ และสถาบันอุดมศึกษาอันทรงเกียรติ ฯลฯ) โดยผ่านการใช้ประโยชน์ ขณะเดียวกันก็จำกัดและควบคุมกิจกรรมที่เกี่ยวกับร่างกายของผู้หญิง การอภิปรายในวงเสวนา จึงจะมุ่งสะท้อนสภาพการณ์เช่นนี้ที่ฝังอยู่ในอณูเนื้อของสังคม โดยหยิบยกกรณีที่ธรรมศาสตร์ลงโทษนักแสดงหญิงเป็นตัวอย่างหนึ่งในหลายตัวอย่างเท่านั้น

เปิดวงเสวนาโดย
ชลิดาภรณ์ ส่งสัมพันธ์
ณัฐยา บุญภักดี
นัยนา สุภาพึ่ง
วราภรณ์ แช่มสนิท
สุภิญญา กลางณรงค์
ดำเนินรายการโดย กฤตยา อาชวนิจกุล

ร่วมกันจัดโดย
กลุ่มอัญจารี
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อการปฎิรูปสื่อ (คปส.)
คณะทำงานด้านสิทธิทางเพศ ในคณะอนุกรรมการด้านส่งเสริมโอกาสและความเสมอ
ภาค คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ ม. ธรรมศาสตร์
มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง (สคส.)
สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล
สำนักงานสิทธิมนุษยชนศึกษาและการพัฒนา ม.มหิดล
หลักสูตรศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสตรีศึกษา โครงการสตรีและเยาวชนศึกษา ม.ธรรมศาสตร์

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ มูลนิธิสร้างความเข้าใจเรื่องสุขภาพผู้หญิง โทร. 02-591-1224-5


--พูดถึงศิลปินหญิงที่น่าสนใจอย่าง CAROLEE SCHNEEMANN แล้ว ก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่าตอนนี้ “อารยา ราษฎร์จำเริญสุข” ศิลปินหญิงที่ดิฉันชื่นชอบมากๆก็กำลังจะมีผลงานใหม่จัดแสดงที่ 100 ต้นสน แกลเลอรี่ค่ะ ผลงานชุดนี้มีชื่อว่า IN A BLUR OF DESIRE อ่านรายละเอียดได้ที่ลิงค์ข้างล่างนี้ค่ะ

http://www.100tonsongallery.com/

In a blur of desire21 Feb - 4 Mar 2007
100 Tonson Gallery proudly presents “In a blur of desire”, the latest creation of Araya Rasdjarmrearnsook, Thailand’s foremost female artist whose outstanding works often involve death or feminism. Araya probes into another angel of death in the work “In a blur of desire” which exposes the condition of before death period in a slaughterhouse. How the death of one animal life affects others? All are reflected through the animals that are going to be carved in the provincial slaughterhouse.

“In a blur of desire” exhibition communicates to the audiences with Media Installation that will screen the video picture of pigs, cows and buffaloes that are waiting for its turn in a slaughterhouse. The exhibition reflects fear and qualm of their before death period which is horrendous than the death.

Capturing the intense moment of dying through “In a blur of desire” exhibition, at 100 Tonson Gallery. The exhibition will show, only for 9 days, between February 21 - March 4, 2007.


อารยา ราษฎร์จำเริญสุขเคยมีผลงานภาพยนตร์ 4 เรื่องมาเปิดฉายที่ 100 ต้นสน แกลเลอรี่ในปีที่แล้วค่ะ ซึ่งได้แก่เรื่อง THE INSANE (2006, A++++++++++) ซึ่งเป็นหนึ่งในสิบภาพยนตร์ขนาดยาวของไทยที่ดิฉันชอบมากที่สุดในปีที่แล้ว, THE NINE-DAY PREGNANCY OF A SINGLE, MIDDLE-AGED ASSOCIATE PROFESSOR (A+), “FECES, LIFE, LOVE, LUST” (A+) และ GLOME PEE: THE CRYING OF THE EARTH (A)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอารยา ราษฎร์จำเริญสุขได้จาก

1.นิตยสาร FREEFORM ฉบับพิเศษ BANGKOK CULTURAL REVIEW ซึ่งมีวางขายตามแผงหนังสือในขณะนี้
http://prypansang.blogspot.com/
http://freeformclub.blogspot.com/

2.หนังสือเกี่ยวกับผลงานภาพยนตร์ของเธอ จำชื่อหนังสือไม่ได้ แต่หนังสือเล่มนี้มีขายที่ร้าน B2S สาขาเซ็นทรัลลาดพร้าว


ภาพยนตร์ที่ได้ดูระหว่างวันเสาร์ที่ 17-จันทร์ที่ 19 ก.พ. 2007
1.FRENCH KISS (2005, ANTONIN PERETJATKO, A+++++++++++++++)
http://www.nice-filmfest.com/2005/images/films/frenchkiss.jpg

ANTONIN PERETJATKO เคยมีผลงานภาพยนตร์เรื่อง L’HEURE DE POINTE (2002, A+) มาฉายในกรุงเทพในปี 2004 และติดอันดับหนังโปรดประจำปีของผู้อ่านคนนึงใน SENSES OF CINEMA
http://www.sensesofcinema.com/contents/05/34/world_poll3.html#phokaew

2.MARCEL! (2004, JEAN ACHACHE, A++++++++++)

3.THE BALL OF WOOL (LA PELOTE DE LAINE) (2005, FATMA ZOHRA ZAMOUM, A++++++++++)

4.LE BON NUMERO (2005, AURELIE CHARBONNIER, A+)
http://www.diplomatie.gouv.fr/fr/IMG/jpg/Le_bon_numero.jpg

5.ROSA (2005, BLANDINE LENOIR, A)

6.THE WOMAN DRIVER (LA CONDUCTRICE) (2005, CARL LIONNET, A)
http://www.diplomatie.gouv.fr/es/IMG/jpg/La_Conductrice.jpg

7.PENPUSHER (GRATTE-PAPIER) (2005, GUILLAUME MARTINEZ, A)
http://www.babelonedrone.net/

8.ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาคประกาศอิสรภาพ (มจ.ชาตรีเฉลิม ยุคล, A-)

9.NADA SO SO (2006, NOBUHIRO DOI, B+)



FAVORITE MUSIC VIDEO

DANCE OF THE DEAD CHILDREN (1982) ของ LYDIA LUNCH
http://www.youtube.com/watch?v=eIbumFHE_Tg

LYDIA LUNCH เคยร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่อง THE HEART IS DECEITFUL ABOVE ALL THINGS (2004) ดูรายชื่อผลงานการแสดงภาพยนตร์ของเธอได้ที่
http://www.imdb.com/name/nm0526120/


FAVORITE TRAILER

THE GUN IS LOADED (1989, MERRILL ALDIGHIERI + JOE TRIPICIAN)
http://www.youtube.com/watch?v=76lqs6_QuaY

http://www.imdb.com/title/tt0230262/plotsummary
At the end of the Reagan years, rocker and confrontational performance artist Lydia Lunch launches a broadside. From a formal podium, she attacks the white male power structure of the US. Next she takes on her parents. Then, the volume lowered and the background the streets of New York, she lets us know what she thinks of life, of herself, and of us, anyone who's watching or listening. Life is depression, despair, and death. She's the girl next door gone bad. And us? Compliant sheep. Lunch lays out a challenge.

LYDIA LUNCH เคยมีผลงานอัลบัมชุด

1.QUEEN OF SIAM (1979)
http://www.amazon.com/Queen-Siam-Lydia-Lunch/dp/B000009N93/sr=8-1/qid=1171890049/ref=pd_bbs_sr_1/104-3054044-3014306?ie=UTF8&s=music

2.SHOTGUN WEDDING (1991)
http://ec1.images-amazon.com/images/P/B00000IFT3.01._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg

LYDIA LUNCH
http://www.lydia-lunch.org/images/photo_gallery_ll/LL_by_Bart_Frescura2_big.jpg
http://www.lydia-lunch.org/images/marc_viaplana_2004/04.jpg

ภาพชุด ECSTASY AT THE MOUTH OF THE ABYSS ของ LYDIA LUNCH
http://www.lydia-lunch.org/images/montages/02.jpg
http://www.lydia-lunch.org/images/montages/11.jpg
http://www.lydia-lunch.org/images/montages/16.jpg

ภาพชุด YOU ARE NOT SAFE IN YOUR OWN HOME ของ LYDIA LUNCH
http://www.lydia-lunch.org/images/you_are_not_safe/06.jpg
http://www.lydia-lunch.org/images/you_are_not_safe/08.jpg

No comments: