Monday, February 12, 2007

THE HUNGER YEARS: IN A LAND OF PLENTY

ตอบคุณ pc

ต้องขอบคุณคุณ pc มากค่ะที่ช่วยเตือนสติดิฉันไม่ให้โกรธหมาที่น่าสงสารเหล่านั้น จริงๆแล้วดิฉันก็ไม่ได้โกรธเกลียดหมาเหล่านั้นหรอกค่ะ แต่เป็นความรู้สึก “เซ็ง” มากกว่า โชคยังดีที่จนถึงป่านนี้ดิฉันเคยเดินเหยียบขี้หมาในซอยไปเพียงครั้งเดียวเท่านั้น หลังจากอยู่ซอยนี้มานาน 11 ปีแล้ว

บางทีดิฉันก็อดจินตนาการเล่นๆไม่ได้ว่า ถ้าหากเราสื่อสารกับสัตว์ได้รู้เรื่อง เราก็คงจะลดการทำบาปลงไปได้มากเลยนะ เพราะในช่วงหน้าหนาวที่ผ่านมา ไม่รู้เกิดเหตุอาเพศอะไร มีมดดำฝูงนึงมันอพยพเข้ามาทำรังในห้องน้ำ ดิฉันไม่รู้ว่ารังของมันอยู่ตรงจุดไหนในฝาผนังกันแน่ แต่มันชอบเดินแถวผ่านห้องน้ำเป็นประจำ เวลาดิฉันจะอาบน้ำฝักบัวแต่ละที ก็รู้สึกแย่มากๆ ที่พออาบเสร็จทีไร ก็พบว่าฝูงมดดำที่เพิ่งเดินแถวกันอยู่เมื่อครู่นี้หายไปกันหมดแล้ว มันคงโดนน้ำพัดพาไปหมด ไม่รู้เหมือนกันว่าจะหาจุดสมดุลยังไงในการทำบาปให้น้อยที่สุดโดยไม่ให้ตัวเองลำบากมากเกินไป อยากจะสื่อสารกับฝูงมดให้รู้เรื่องว่ามันไม่ควรเดินแถวผ่านห้องน้ำ โชคยังดีที่ดูเหมือนว่าช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา มดดำอพยพหายไปจากห้องน้ำกันหมดแล้ว ก็เลยรู้สึกค่อยยังชั่วที่ตัวเองไม่ต้องทำบาปอีก



ตอบน้อง merveillesxx

เห็นน้องชอบฉากเปิดเพลง I PUT A SPELL ON YOU ที่ร้องโดย NATACHA ATLAS ใน DIVINE INTERVENTION พี่ก็เลยหามิวสิควิดีโอของ NATACHA ATLAS มาให้ดูค่ะ

อันนี้เป็นมิวสิควิดีโอเพลง GOD IS GOD ของ NATACHA ATLAS WITH JUNO REACTOR ซึ่งเป็นมิวสิควิดีโอที่พี่ดูแล้วกราบตีนมากๆ เพราะนอกจากเสียงร้องจะหลอน และดนตรีจะเริ่ดแล้ว มิวสิควิดีโอนี้ยังนำภาพที่เฮี้ยนสุดๆจากภาพยนตร์เรื่อง COLOUR OF POMEGRANATES (1968, SERGEI PARADJANOV, A+) มาตัดต่อให้เข้ากับเพลงๆนี้ได้อย่างลงตัวมากๆเลยด้วย งานนี้เรียกว่าเฮี้ยนปะทะเฮี้ยนจริงๆ
http://www.youtube.com/watch?v=9e1pFGPcWZ4

(SERGEI PARADJANOV ผู้กำกับ COLOUR OF POMEGRANATES เคยติดคุกหลายปีในโซเวียตในข้อหามีแนวโน้มเป็นโฮโมเซ็กชวล ถึงแม้เขาแต่งงานมีภรรยาแล้ว)



COPY FROM SCREENOUT WEBBOARD
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=4200

--JUTTA BRUECKNER ผู้กำกับ THE HUNGER YEARS: IN A LAND OF PLENTY เป็นหนึ่งในผู้กำกับชาวเยอรมันที่เริ่มโด่งดังขึ้นมาในทศวรรษ 1970-1980 ดิฉันเพิ่งได้ดูหนังของเธอเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา รู้สึกว่าหนังของเธอเรียบร้อยมากเมื่อเทียบกับผู้กำกับชาวเยอรมันในรุ่นเดียวกัน แต่ถึงแม้หนังของเธอจะเรียบร้อยมาก ดิฉันก็ยังคงชอบหนังของเธออย่างสุดๆอยู่ดี

--อ่านที่คุณแฟรงเกนสไตน์เขียนถึงสิ่งที่ได้ดูในรอบปีที่ผ่านมาอย่างมีความสุขมากๆค่ะ เห็นคุณแฟรงเกนสไตน์พูดถึง TERAO AKIRA ก็เลยลองไปค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเขาดู
http://www.jdorama.com/img_a/001737.jpg
http://www.imdb.com/name/nm0855417/

TERAO AKIRA เกิดปี 1947 หนังของเขาที่ดิฉันเคยดูรวมถึง

1.RAN (1985, AKIRA KUROSAWA, A+)

2.CASSHERN (2004, KAZUAKI KIRIYA, A)

3.MADADAYO (1993, AKIRA KUROSAWA, A-)

4. WHEN THE RAIN LIFTS (1999, TAKASHI KOIZUMI, A-)

ดิฉันไม่เคยได้ยินชื่อของเขามาก่อนเลย นึกใบหน้าของเขาในหนัง 4 เรื่องนี้ไม่ค่อยออกแล้วด้วย ต้องขอบคุณคุณ FRANKENSTEIN มากค่ะที่พูดถึงเขา ดิฉันจะได้จับตาดูนักแสดงคนนี้ รู้สึกว่าญี่ปุ่นมีดารารุ่นใหญ่ชายหญิงหลายคนที่คุ้นหน้าคุ้นตามากๆ แต่ดิฉันไม่ค่อยรู้จักชื่อสักเท่าไหร่ ดารารุ่นเก่าที่ดิฉันชอบสุดๆก็รวมถึง

1.ITTOKU KISHIBE (1947) พระเอก THE STING OF DEATH (1990, KOHEI OGURI, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0457215/

2.SAYURI YOSHINAGA นางเอก YEAR ONE IN THE NORTH (2005, ISAO YUKISADA, A-)

3.YOSHIO HARADA (1940) ดารานำใน THE FACE OF JIZO (2004, KAZUO KUROKI, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0361757/
http://www.theblackmoon.com/blog/2005/04/face-of-jizo.html


4.MARIKO OKADA (1933) ดารานำใน WOMEN IN THE MIRROR (2002, YOSHISHIGE YOSHIDA, A+)
http://www.imdb.com/name/nm0645422/

5.KIRIN KIKI (1943)
http://www.imdb.com/name/nm0452817/
ปัจจุบันนี้เธอมักได้รับบทเป็นแม่นางเอกหรือพระเอก แต่ความเฮี้ยนของเธอก็มักทำให้เธอโดดเด่นกว่าพระเอกหรือนางเอกอยู่เสมอ เธอเป็นเจ้าของฉากที่ดิฉันชอบที่สุดในหนังเรื่อง INOCHI (2002, TETSUO SHINOHARA, A-) และ CRANE (1988, KON ICHIKAWA, A-/B+) ถึงแม้เธอไม่ใช่ตัวละครเอกก็ตาม นักแสดงคนหนึ่งที่อาจจะพอรับมือกับความเฮี้ยนของ KIRIN KIKI ได้ก็คือเจนจิรา จันทร์สุดา จาก “สุดเสน่หา”




งานน่าสนใจในเดือนก.พ. (ต่อ)

14.งานฉายหนังแอนิเมชั่นทุกวันพุธที่ฟลิปคาเฟ่
http://www.flipcafebkk.com/


15.THE INSTALLATION SERIES OF UNTITLED 2007

BY SARAWUT CHUTIWONGPETI
http://www.jfbkk.or.th/event/sarawut_chutiwongpeti_eg.html

The Japan Foundation, Bangkok proudly presents the art exhibition "The Installation series of Untitled 2007" by a young and worldwide known Thai artist, Sarawut Chutiwongpeti.

Sarawut granted by the Japan Foundation Fellowship Program, artist section in 1999 to reside and research in Japan for 6 months. After the program ended, he traveled abroad to make exhibitions around the world for several years, such as in Northern Europe, America and Canada. This year in 2007, he will finally come back to initiate exhibition in his homeland Thailand.

He uses sculptures, mixed media installation, found objects and video art for his artworks. With the concept concerning people’s minds and subconscious, he can present it in his unique style.

This art project work (a three-dimensional work and mixed media installation) focuses on the mechanisms of perception and dreams, the private world of the world of fantasy and the unconscious, the conditions underlying the system by which mind and spirit operates. At the same time, the (in)-visibility of the structure ignites a confusion in the viewers'
perceptions of the work and of the space where it is placed, thus provoking an ambiguous relationship between the object, its function and its appearance and unlocks a mysterious force field on the border of truth and lie that is able to create unexpected angles of approach which in turn force the viewer to take up a new position in the observation of the surrounding world.”



16.ละครเวทีเรื่อง บอกรัก


เหล่าอาสาสมัครหน้ากากใหม่
โดยเครือข่ายหน้ากากเปลือย
เตรียม "บอกรัก" กับทุกคน
ในฤดูกาลแห่งความโรแมนติก

16 และ 23 ก.พ. 50 นี้ เวลา 18.30 น
ที่ศูนย์ศังคีตศิลป์ ธนาคารกรุงเทพ
สาขาหัวลำโพง

พบกับกลวิธีบอกรักหลายรูปแบบ
จากนักแสดงรุ่นใหม่จากชมรมหน้ากากใหม่
ในโชว์เคสการแสดงที่กลั่นมาจากหัวใจ
....พบเรื่องของคนที่กลัวจะถูกบอกรัก
....การบอกรักแบบเจ็บๆ
....คนที่ไม่เคยมีความรัก แต่อยากบอกรักดูบ้าง
ฯลฯ อีกมาก

ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่
086-722-1435 และ joobenator@gmail.com

ชมฟรี

http://www.bangkokbank.com/Bangkok+Bank+Thai/About+Bangkok+Bank/In+the+Community/Musical+Arts/default.htm



17.THE RAPE OF LUCRETIA

MON 26 FEB
TUE 27 FEB
20.00 HRS
SALA CHALERMKRUNG
http://www.thaiticketmaster.com/events/lucretia.php

บางกอกโอเปร่า ร่วมกับ เนเธอร์แลนด์สตูดิโอ นำเสนอมหาอุปรากร เรื่อง กามารมณ์พลิกแผ่นดิน (The Rape of Lucretia) ซึ่งเป็นผลงานการประพันธ์ของ เบนจามิน บริตเตน (Benjamin Britten)

The Rape of Lucretia เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในสมัยเริ่มแรกของอาณาจักรโรมันโบราณ (First Roman Empire) เมื่อประมาณพุทธศักราช 500 โรมถูกรุกรานและยึดครองโดยชนชาติอิทรุสกัน (Etruscan) ขณะที่อาณาจักรตกอยู่ภายใต้เงื้อมมือศัตรู ทหารโรมันได้พากันออกจากกรุง เพื่อรวบรวมกำลังหาทางกอบกู้อิสรภาพ แทนที่จะครองกายครองใจรอคอยสามี บรรดาภรรยาทั้งหลายผู้อยู่เบื้องหลังต่างพากันคบชู้สู่ชายโดยถ้วนทั่ว ยกเว้น ลูเครเชีย ผู้ครองความสัตย์ซื่อ บริสุทธิ์อย่างมั่นคงและ เฝ้าตั้งตารอนายพลผู้เป็นสามี เจ้าราชบุตรแห่งอิทรุสกัน เกิดความพึงใจใคร่ได้นาง เมื่อไม่สมประสงค์ก็ใช้กำลังข่มขืน ลูเครเชียจึง ทำลายชีวิตตนเองหนีความอัปยศ ความตายของลูเครเชีย ส่งผลให้ชาวโรมันโกรธแค้นลุกฮือขึ้น จับอาวุธ ทำการปฏิวัติขับไล่ศัตรูสำเร็จ ต่อมาได้เปลี่ยนแปลง ระบบการปกครองและ กลายเป็นสาธารณรัฐ (Republic) ในที่สุด เรื่องของนางลูเครเชียได้ถูกจารึก ในประวัติศาสตร์โรมัน ว่ามีความสำคัญยิ่ง ในการพลิกผันระบบการเมือง ในการร่วมกันผลิต ระหว่างบางกอกโอเปร่าและ โอเปร่าสตูดิโอ ของเนเธอร์แลนด์, ได้แนะนำการแสดงมาจากแง่มุม ทรรศนะของชาวคริสเตียน เรื่องราวถูกปรับปรุง ในช่วงปีคริสต์ศักราชที่ 1930 และ จัดกำหนดให้อยู่ในกรุงโรมสมัยมุสโสลีนี (เผด็จการแห่งประเทศอิตาลี ซึ่งถูกฆ่าตายก่อนสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2) เกี่ยวกับลัทธิเผด็จการฟาสซิสต์ ซึ่งได้พยายามสร้างใหม่ เพื่อสรรเสริญเรื่องราวในอดีต

นักชมภาพยนตร์บางคนอาจจะคุ้นกับชื่อของ BENJAMIN BRITTEN เพราะว่าภาพยนตร์เรื่อง BEAU TRAVAIL (1999, CLAIRE DENIS, A+) ได้นำเอาเพลงจากโอเปร่าของ BENJAMIN BRITTEN มาใช้ โดยโอเปร่านั้นดัดแปลงมาจากนิยายเรื่อง BILLY BUDD ของ HERMAN MELVILLE
http://www.kinoeye.org/03/07/delrio07.php



18.สู่ฝันอันยิ่งใหญ่
http://www.bioscopemagazine.com/web2006/webboard/index-in.php?id=55221


สิ่งที่ได้ดูระหว่างวันอังคารที่ 6 ก.พ.-จันทร์ที่ 12 ก.พ.

หนังที่ได้ดูซ้ำ

LES DITES-CARIATIDES (1984, AGNES VARDA, A+)
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/03/86/18447340.jpg



สิ่งที่ได้ดูเป็นครั้งแรก

1.THE HUNGER YEARS: IN A LAND OF PLENTY (1980, JUTTA BRUECKNER, A+++++++++++++++)
ดูที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์

2.KUNG-FU MASTER (1987, AGNES VARDA, A+++++++++++++++)
ดูที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์


3.FUSES (1967, CAROLEE SCHNEEMANN, A+++++++++++++++)
http://www.imdb.com/title/tt0141114/

ภาพยนตร์ที่ได้ดูทาง YOUTUBE แต่คลิปใน YOUTUBE ไม่มีเสียงประกอบ

เนื่องจากภาพยนตร์เรื่องนี้มีความยาว 22 นาที ดังนั้นคลิปใน YOUTUBE จึงแบ่งออกเป็น 3 ส่วน โดยสองส่วนแรกมีความยาวส่วนละเกือบ 10 นาที

ส่วนที่ 1
http://www.youtube.com/watch?v=oeeFKXnQST0

ส่วนที่ 2
http://www.youtube.com/watch?v=DfJ8usIcEGQ

ส่วนที่ 3
http://www.youtube.com/watch?v=qqYhzAmrjPU

คุณ BOAT เคยเขียนถึง FUSES ไว้ที่นี่ค่ะ
http://livefromcalarts.blogspot.com/2006/12/respectful-penis.html

Filmed and edited by Schneemann; with herself, James Tenney and Kitch.
http://www.canyoncinema.com/rentsale.html
"Pornography is an anti-emotional medium, in content and intent, and its lack of emotion renders it wholly ineffective for women. This absence of sensuality is so contrary to female eroticism that pornography becomes, in fact, anti-sexual. Schneemann's film, by contrast, is devastatingly erotic, transcending the surfaces of sex to communicate its true spirit, its meaning as an activity for herself and, quite accurately, women in general. Significantly, Schneemann conceives the film as shot through the eyes of her cat - the impassive observer whose view of human sexuality is free of voyeurism and ignorant of morality.

"In her attempt to reproduce the whole visual and tactile experience of lovemaking as a subjective phenomenon, Schneemann spent some three years marking on the film, baking it in the oven, even hanging it out the window during rainstorms on the off chance it might be struck by lightning. Much as human beings carry the physical traces of their experiences, so this film testifies to what it has been through and communicates the spirit of its maker. The red heat baked into the emulsion suffuses the film, a concrete emblem of erotic power." - B. Ruby Rich, Chicago Art Institute

เว็บไซท์ของ CAROLEE SCHNEEMANN
http://www.caroleeschneemann.com/


4.STUTTGART BALLET (A++++++)
การแสดงบัลเลต์ที่ศูนย์วัฒนธรรม ประกอบด้วยการแสดง 4 ชุด ซึ่งได้แก่

4.1 KAZIMIR’S COLOURS (CHOREOGRAPHED BY MAURO BIGONZETTI, A+)

อันนี้เป็นภาพจากการแสดงอื่นๆของ BIGONZETTI
http://www.asmed.it/Balletto%20di%20Sardegna/Images/Jadeston(Mauro-Bigonzetti).jpg

4.2 MONO LISA (CHOREOGRAPHED BY ITZIK GALILI, A++++++++++)
ชอบดนตรีประกอบของ MONO LISA มากๆ

อันนี้เป็นภาพจากการแสดงชุด FOR HEAVEN’S SAKE ที่ออกแบบโดย ITZIK GALILI
http://farm1.static.flickr.com/124/387943364_91b1fe2649_b.jpg
http://farm1.static.flickr.com/136/387943362_fbd5cfe551_b.jpg
http://farm1.static.flickr.com/149/387943361_551b7941fe_b.jpg

ภาพจากการแสดงชุด THINGS I TOLD NOBODY (2000) ที่ออกแบบโดย ITZIK GALILI
http://farm1.static.flickr.com/161/387943370_a3782bd8d4_o.jpg
http://farm1.static.flickr.com/100/387943368_ffb63136bf_b.jpg

4.3 SKEW-WHIFF (CHOREOGRAPHED BY PAUL LIGHTFOOT + SOL LEON, A+++)

อันนี้เป็นภาพจากการแสดงชื่อ SIGUE ของ PAUL LIGHTFOOT + SOL LEON
http://www.dancesalad.org/images/gallery/2003/sigue_1_big.jpg
http://www.dancesalad.org/images/gallery/2003/sigue_2_big.jpg

4.4 SEVENTH SYMPHONY (CHOREOGRAPHED BY UWE SCHOLZ, A)


5.YOU ONLY LIVE TWICE (2007, TINTIN COOPER, A+)
งานแสดงศิลปะที่ PSG GALLERY มหาวิทยาลัยศิลปากร ในงานนี้มีจอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ 2 จอ จอหนึ่งฉาย RAMBO แบบพิสดาร ส่วนอีกจอฉาย TERMINATOR 2: JUDGEMENT DAY ที่ได้รับการดัดแปลงใหม่ นอกจากนี้ ยังมีจอทีวีเล็กๆบางจอแอบอยู่ในซอกเล็กๆเพื่อให้คนบางคน “ปีนกระไดดู” หรืออาจจะลอดช่องโหว่เข้าไปดูก็ได้


6.SUN IN WINTER (DU SOLEIL EN HIVER) (2005, SAMUEL COLLARDEY, A+)
ดูที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้


7.THE SHUTTERS (LES VOLETS) (2005, LYECE BOUKHITINE, A+)
ดูที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้ ดูแล้วอยากร้องไห้


8.BE QUIET (2005, SAMEH ZOABI, A+)
ดูที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้


9.DREAMGIRLS (2006, BILL CONDON, A+/A)


10.BABEL (2006, ALEJANDRO GONZALEZ INARRITU, A)


11.ROOM 616 (2005, FREDERIC PELLE, A)
ดูที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้

12.CARLITOPOLIS (2005, LUIS NIETO, A)
ชมภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ที่นี่ค่ะ
http://www.youtube.com/watch?v=7CJKULSJ8DE


13.LES PETITS HOMMES VIEUX (2005, YANN CHAYIA, A)
ดูที่สมาคมฝรั่งเศส ถ.สาทรใต้


14.OPEN WATER 2: ADRIFT (2006, HANS HORN, A-)

ชอบตัวละครมิเชล (CAMERON RICHARDSON) ในเรื่องนี้ โดยเฉพาะฉากที่เธอพร่ำบ่นบทสวดมนต์ออกมา
http://www.imdb.com/name/nm0724460/

1 comment:

Bijoy said...

Nice post, its a Super cool blog that you have here, keep up the good work, will be back.

Warm Regards

Ran Movie Review