Sunday, March 25, 2007

THERE, THERE (NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A+)

http://riverdale-dreams.blogspot.com/2007/03/memento.html

ตอบคุณ OLIVER

ชอบที่คุณ OLIVER พูดถึงหนังฟิล์มนัวร์ 3 แนวมากเลยค่ะ ที่แยกเป็นแนว RAYMOND CHANDLER, JAMES M. CAIN และ CORNELL WOOLRICH

ตอนเด็กๆดิฉันจำได้ว่าดูหนังฟิล์มนัวร์แล้วไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ รู้สึกว่า IDENTIFY กับหนังได้ยากมาก แต่ยิ่งโตขึ้นมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งรู้สึก IDENTIFY ตัวเองกับหนังฟิล์มนัวร์มากเท่านั้น

เมื่อเร็วๆนี้เห็นมีหนังสือเกี่ยวกับหนังยุโรปแนว FILM NOIR วางขายในไทย ก็เลยทำให้สนใจว่ามีหนังยุโรปเรื่องไหนบ้างที่มีลักษณะแบบ FILM NOIR พอลองค้นดูทางเน็ตก็เลยเจอเว็บไซท์นี้เข้า

http://www.greencine.com/list?action=viewList&listID=6547

จากที่ดูในรายชื่อนี้ ก็เลยทำให้เห็นว่า ผู้กำกับที่ทำหนังเข้าใกล้ FILM NOIR ในยุโรปที่เด่นๆ ก็น่าจะมี

1.HENRI-GEORGES CLOUZOT

2.CLAUDE CHABROL

3.JEAN-PIERRE MELVILLE

4.JACQUES BECKER

ตอนนี้กำลังนึกอยู่ว่ามีหนัง FILM NOIR เรื่องไหนบ้างที่มีผู้ชายทำหน้าที่แบบ HOMME FATALE แต่ยังนึกไม่ออก



ตอบน้อง merveillesxx

--ได้เข้าไปดู RABBIT (2005, RUN WRAKE, A+++++) ที่น้องทำลิงค์เอาไว้ให้แล้วค่ะ สุดยอดมากๆ หนังทั้งสวยและทรามในเวลาเดียวกัน
http://www.youtube.com/watch?v=A4Yf-7Z_6PE

--ดู UN CHIEN ANDALOU หลายรอบแล้วก็งงๆเหมือนกันค่ะ แต่โชคดีที่รอบล่าสุดดูพร้อมกับคุณ FILMSICK + เก้าอี้มีพนักที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ การได้คุยกับสองคนนี้ทำให้พบว่าตัวเองยังดูไม่ทันในหลายๆฉาก รู้สึกดีใจมากที่การได้คุยกับเพื่อนๆทำให้เข้าใจหนังหลายๆเรื่องมากขึ้น

--บทความของ JEAN-CLAUDE CARRIERE ในหนังสือ FILMVIRUS 2 มีพูดถึง THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, LUIS BUNUEL, A+) ด้วยค่ะ ถ้าจำไม่ผิด CARRIERE รู้สึกฮาๆที่ผู้ชมหลายคนพยายามตีความฉากเดินใน THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE ว่าหมายความอย่างโน้นอย่างนี้ ทั้งที่จริงๆแล้ว LUIS BUNUEL ไม่ได้ต้องการสื่อความหมายอะไร (JEAN-CLAUDE CARRIERE เป็นคนเขียนบทหนังเรื่องนี้เอง)

--พูดถึงศิลปินแนวเซอร์เรียลแล้ว ก็นึกถึงจิตรกรอีกคนนึงที่ดิฉันเพิ่งรู้จัก นั่นก็คือ MAX ERNST ที่ดิฉันเพิ่งรู้จักเขาก็เพราะว่าทางห้องสมุดธรรมศาสตร์เพิ่งนำหนังเรื่อง MAX ERNST: JOURNEY INTO THE SUBCONSCIOUS (1991, PETER SCHAMONI, A) มาฉาย
http://www.imdb.com/title/tt0102419/

หลังจากดูหนังเรื่องนี้แล้ว ดิฉันลองไปเซิร์ชดูภาพของ MAX ERNST ก็รู้สึกว่าเขาวาดภาพได้สวยมากจริงๆ

ผลงานของ MAX ERNST

THE GRAMINACEAOUS BICYCLE (1921)
http://www.madsci.org/~lynn/juju/surr/images/ernst/gmbicycle.jpg

ABOVE THE CLOUDS MIDNIGHT PASSES (1920)
http://www.madsci.org/~lynn/juju/surr/images/ernst/midnight_clouds.jpg

UBU IMPERATOR (1923-1924)
http://www.madsci.org/~lynn/juju/surr/images/ernst/ubu.jpg

THE TEMPTATION OF ST. ANTHONY (1945)
http://www.eyeconart.net/history/Surrealism/ErnstTempStAnt2.jpg

EUCLID (1945)
http://www.stefanmart.de/03_dilldapp/030z_ernst_1.jpg



หนังที่ได้ดูเมื่อวานนี้

1.THERE, THERE (2005, NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A+)

ชอบหนังแบบนี้มากๆ ที่หนังนำเสนอภาพอย่างหนึ่ง และมีการใช้ TEXT ที่ทำให้ผู้ชมเกิดภาพอีกอย่างขึ้นในหัวสมอง ดิฉันรู้สึกว่าวิธีการแบบนี้ใกล้เคียงกับวิธีการใน INDIA SONG (MARGUERITE DURAS) เพียงแต่ว่า DURAS ใช้เสียงบรรยายที่ทำให้ผู้ชมเกิดภาพอีกอย่างขึ้นในหัวสมอง

ดิฉันชอบหนังที่ทำให้ “ตาเนื้อ” ของผู้ชมเห็นภาพอย่างหนึ่ง และ “ตาจิต” ของผู้ชมเห็นภาพอีกอย่างหนึ่ง ทั้งโดยที่ผู้กำกับอาจจะตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ เพราะส่วนใหญ่แล้ว หนังที่ทำให้ “ตาเนื้อ” กับ “ตาจิต” ของดิฉัน เห็นภาพไม่เหมือนกันในเวลาเดียวกัน มักจะให้ประสบการณ์ที่ทำให้ดิฉันมีความสุขมากๆ

รู้สึกสนุกมากๆกับหนังเรื่องนี้ เพราะในขณะที่ “ตาเนื้อ” ของผู้ชมอาจจะยังคงเห็นชายหนุ่มนั่งรำคาญการบ้านบนโต๊ะ แต่ “ตาจิต” ของผู้ชมได้บังเกิดภาพต่างๆ มากมาย ทั้งภาพการเข้าแถวกินก๋วยเตี๋ยว, การด่าทอกับเจ้าหน้าที่ในโรงอาหาร, การได้พบกับพนักงานสาวในร้านขายของ

หนังที่ทำให้ดิฉันเกิดปฏิกิริยาแบบนี้นั้น นอกจาก THERE, THERE แล้ว ยังรวมถึง

1.1 INDIA SONG (1975, MARGUERITE DURAS, A+)
หนังเรื่องนี้ใช้เสียงบรรยายที่ไม่เข้ากับภาพในบางช่วง ช่วงที่ชอบมากที่สุดช่วงนึงคือช่วงที่ผู้ชมเห็น ANNE-MARIE STRETTER กับชายหนุ่ม 4-5 คนโพสท์ท่ากันเป็นเวลายาวนานมากๆ แต่เสียงที่ผู้ชมได้ยินกลับเป็นเสียงคนพูดคุยกันเกี่ยวกับการเดินทางไปยังเกาะในทะเล

หนังสารคดีเกี่ยวกับ INDIA SONG ที่มาฉายที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ ก็หยิบประเด็นนี้ขึ้นมาพูดถึงได้อย่างน่าประทับใจที่สุด เพราะหนังเรื่อง INDIA SONG และอาจจะรวมไปถึง THERE THERE แสดงให้เห็นถึง THE COLOR OF WORDS หรือ THE POWER OF WORDS โดยหนังสารคดีเรื่องนี้ยกตัวอย่างฉากหนึ่งใน INDIA SONG ที่ผู้ชมเห็น ANNE-MARIE STRETTER มองออกนอกหน้าต่าง โดยการจัดแสงในฉากนั้นรุนแรงมาก เพราะแสงฉายไปที่ใบหน้าของ ANNE-MARIE และฉากหลัง จนทำให้ภาพนั้นดูขาวโพลนมากๆ และผู้ชมได้เห็นแต่เพียงสีขาวเกือบจะเพียงสีเดียวในฉากนั้น

แต่เสียงบรรยายในฉากนั้นกลับพูดว่า “เธอมองเห็นดอกไม้สีม่วง”

และวินาทีนั้นเอง ที่ “ตาจิต” ของผู้ชมเห็น “สีม่วง” แต่ตาเนื้อของผู้ชมเห็นเพียง “สีขาวโพลน” และนั่นเป็นวินาทีที่ให้ความรู้สึกสุดยอดมากๆในการชมภาพยนตร์ของดิฉัน


1.2 DIVINE INTERVENTION (2002, ELIA SULEIMAN, A+)
เคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้แล้วใน
http://celinejulie.blogspot.com/2004/11/divine-intervention.html


1.3 MIXED UP (1999, NADIA FARES, A+)
ฉากที่ชอบมากในหนังเรื่องนี้คือฉากที่ผู้กำกับถ่ายคุณยายหรือคุณย่าของเธอ แต่เสียงบรรยายพูดถึงการเดินลงทะเลไปเรื่อยๆ และฉากที่ผู้กำกับถ่ายอะไรสักอย่าง แต่เสียงบรรยายบอกว่า “สักวันหนึ่ง เท้าข้างหนึ่งของฉันจะยืนเหยียบบนเทือกเขาแอลป์ และเท้าอีกข้างหนึ่งของฉันจะยืนเหยียบอยู่บนลุ่มแม่น้ำไนล์”


1.4 TEN TINY LOVE STORIES (2001, RODRIGO GARCIA, A+)
หนังที่ให้ดาราหญิงสิบคนมาพูดถึงประสบการณ์ของตัวเอง

1.5 NINJA BUGEI-CHO (1967, NAGISA OSHIMA, A+)
หนังที่ถ่ายหน้าหนังสือการ์ตูนไปเรื่อยๆ โดยที่ภาพในหนังสือการ์ตูนไม่เคลื่อนไหว แต่ภาพในหัวของดิฉันเคลื่อนไหวอย่างรุนแรงมาก



2.DIFFERENT DEGREE (2006, MONCHAI CHATBAMRUNGSUK, A+)

3.SEE (2006, NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A+)

4.MASSAGE (2006, THAWATPONG TANGSAJJAPOJ, A+)

5.12 NOV (2006, MONCHAI CHATBAMRUNGSUK, A+/A)

6.TRUE NATURE (2002, THAWATPONG TANGSAJJAPOJ, A+/A)
ถ้าผู้กำกับไม่เล่าเรื่องในตอนหลัง ดิฉันก็คงไม่รู้เลยแม้แต่นิดเดียวว่าหนังเรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร เพราะดูไม่ทัน แต่รู้สึกว่าหนังสวยมาก

7.MY SHRUNK HOUSE (2004, NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A)
ไม่ค่อยชอบตอนจบเท่าไหร่ เพราะตอนแรกนึกว่าหนังเรื่องนี้จะออกมาเป็นแนว REPULSION ฮ่าๆๆๆๆ

8.NANA 2 (2006, KENTARO OTANI, A)
ชอบมากกว่าภาคแรก และรู้สึกหมั่นไส้ยัยนานะเพ้อ (ยืมสำนวนน้อง merveillessxx) น้อยลงมาก

9.SATHORN (2006, MONCHAI CHATBAMRUNGSUK, A)

10.BANGKOK TANK (2006, NAWAPOL THAMRONGRATTANARIT, A)

11.OUR CHILD (2003, THAWATPONG TANGSAJJAPOJ, A)

12.ISLAND (2001, THAWATPONG TANGSAJJAPOJ, A)

13.THE GOOD SHEPHERD (2006, ROBERT DE NIRO, A/A-)

14.SECRET (2006, MONCHAI CHATBAMRUNGSUK, A/A-)
ชอบฉากแตะใบไมยราบมากๆ

15.SIL 5 (THAWATPONG TANGSAJJAPOJ, A/A-)

1 comment:

Anonymous said...

ขอบคุณครับมากครับพี่ สำหรับการมาแวะเวียนที่ฟลิบทุกอาทิตย์ และ สำหรับคอมเมนท์ที่สวยงามด้วยครับ
(แต่เรื่องไหนไม่สวยงาม ก็บอกได้นะครับ 55 )