Saturday, June 28, 2008

WE'RE ALL ALONE UNDER THE BLANKET

This is my comment in Bioscope webboard:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=1167.0


เห็นด้วยว่าหนังของคุณทศพลเรื่อง “ผ้าห่ม” ดูซับซ้อนและยากขึ้นกว่าหนังเรื่องก่อนๆ แต่ก็เป็นหนังที่ชอบมากๆ ถึงแม้การดูเพียงรอบเดียวจะทำให้ดิฉันรู้สึกว่าตัวเองแทบไม่เข้าใจอะไรในหนังเรื่องนี้เลยก็ตาม โดยเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครหญิงหนึ่งชายสองในหนังเรื่องนี้ (ไม่แน่ใจว่าผู้ชายที่โทรศัพท์ กับผู้ชายที่เล่นกีตาร์เป็นคนละคน หรือเป็นคนเดียวกัน เข้าใจว่าเป็นคนละคนกัน) สาเหตุหนึ่งที่ชอบมากๆอาจจะเป็นเพราะว่ามีหลายๆฉากที่มันโดนใจตัวเองอย่างไม่มีเหตุผลอย่างเช่นฉากเล่นกับแขนเสื้อ, ฉากที่เธอพูด แต่ไม่มีใครได้ยินเธอ, ฉากที่เธอได้แต่เฝ้ามองผู้ชายเล่นกีฬาอยู่ห่างๆ, ฉากที่เธอเดินขึ้นเดินลงบันไดอะไรสักอย่าง, ฉากที่เธอขี่จักรยานแล้วมีเสียงผู้ชายพูดชื่อวันต่างๆ, ฉากที่เธอวาดรูปในอากาศ และโดยเฉพาะฉากที่เธอวาดแล้วลบ วาดแล้วลบจนกระดาษขาด ฉากนั้นเป็นฉากที่ดูแล้วกราบตีนมากๆ

ดิฉันไม่สามารถ “เข้าใจ” อะไรในฉากเหล่านี้ได้เลย แต่รู้สึกว่าแต่ละฉากมันกระตุ้นให้ดิฉันเอามาคิดต่อหรือรู้สึกต่อได้เองตามใจชอบ อย่างนึงที่ดิฉันเอามาจินตนาการต่อเองก็คือ มันทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าผู้หญิงคนนี้ต้องคำสาปอะไรบางอย่าง อย่างเช่น ฉากที่เธอขี่จักรยานนั้น ถ้าหากใส่ดนตรีหนุงหนิงเข้าไป มันก็อาจจะทำให้ฉากนี้ดูเป็นฉากขี่จักรยานเล่นเย็นๆใจได้ แต่พอมันใส่เสียงผู้ชายพูดกระซิบชื่อวันเข้าไป มันกลับทำให้รู้สึกถึงความเบื่อหน่ายหรือความซ้ำซากของชีวิต ภาพที่เห็นมันเหมือนเป็นภาพที่จะสื่อถึงความสุขหรือการขี่จักรยานอย่างสบายใจเรื่อยเปื่อยก็ได้ แต่พอมีเสียงประกอบเข้าไป มันกลับทำให้อารมณ์เปลี่ยนไปทันที ฉากที่เธอโยนลูกเทนนิสไม่ไป และอีกหลายฉากก็ทำให้รู้สึกเหมือนกับว่าเธอต้องคำสาปอะไรบางอย่างเช่นกัน

ฉากลบรูปจนกระดาษขาดนั้น ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจุดประสงค์ของคุณทศพลคืออะไร แต่ดิฉันดูฉากนี้แล้วก็นึกถึงพฤติกรรมของตัวเองในบางครั้ง ที่มักจะนึกถึง “เรื่องที่ไม่ควรนึกถึง” หรือนึกถึง “เรื่องที่ทำให้หัวใจตัวเองเจ็บปวด” ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทั้งๆที่ตัวเองมีอิสระในทุกๆวินาทีที่จะเลือกคิดถึงเรื่องอะไรก็ได้ แต่ในบางครั้งตัวเองก็กลับเลือกที่จะนึกถึงเรื่องที่ทำให้ตัวเองเจ็บปวด เพราะฉะนั้นพอเห็นฉากนี้ในหนัง ดิฉันก็เลยรู้สึกว่าดิฉันจะพยายามไม่ทำอย่างนี้อีกเป็นอันขาด ดิฉันจะไม่พยายามย้ำคิดย้ำทำถึงสิ่งที่ทำให้ตัวเองเจ็บปวดโดยไม่จำเป็นอีกต่อไป ฉากลบรูปจนกระดาษขาดในหนังเรื่องนี้ เป็นฉากที่บาดความรู้สึกของดิฉันอย่างรุนแรงมากกว่าการได้ดูฉากคนกรีดข้อมือตัวเองในหนังหลายๆเรื่อง

การที่ดิฉันไม่เข้าใจฉากแต่ละฉากใน “ผ้าห่ม”, ไม่เข้าใจ ”เนื้อเรื่อง” และไม่เข้าใจ “ความเชื่อมโยงกันของแต่ละฉาก” ใน “ผ้าห่ม” ในการดูรอบแรกนั้น ทำให้ดิฉันกลับรู้สึกมีความสุขกับหนังเรื่องนี้ในแบบที่แตกต่างจากหนังที่ได้ดูโดยทั่วไป มันเหมือนกับว่าฉากแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้เปรียบได้กับดาวหนึ่งดวงบนท้องฟ้า การนำฉากแต่ละฉากในหนังเรื่องนี้มาเรียงร้อยเข้าด้วยกันอาจจะเปรียบได้กับการลากจุดเชื่อมโยงระหว่างดาวแต่ละดวงบนท้องฟ้า บางทีคุณทศพลอาจจะจงใจลากจุดเชื่อมระหว่างดาวแต่ละดวงเพื่อให้เกิดเป็นรูป “กลุ่มดาวหมีใหญ่” แต่ดิฉันกลับไม่เข้าใจและไม่เห็น “กลุ่มดาวหมีใหญ่” ที่คุณทศพลตั้งใจวาด แต่ดิฉันก็มีความสุขที่ได้ดูดาวแต่ละดวง หรือฉากแต่ละฉาก และเลือกที่จะนำบางฉากมาโยงเข้าด้วยกันเพื่อเกิดเป็น “กลุ่มดาวชายคู่” แทน หรืออะไรทำนองนี้ และดิฉันเดาว่าถ้าหากดิฉันได้ดูหนังเรื่องนี้รอบสอง ดิฉันก็อาจจะเลือกนำบางฉากมาคิดหรือรู้สึกต่อ และสนุกกับการสร้างเรื่องราวใหม่ๆหรือกลุ่มดาวใหม่ๆขึ้นมาที่แตกต่างไปจากการดูรอบแรก

ดูจากสูจิบัตรแล้ว ถ้าเข้าใจไม่ผิด UNDER THE BLANKET ประกอบด้วยหนังสั้นประมาณ 5 เรื่อง ได้แก่ สกาว, ผ้าห่ม, กระโดด, เกาะเหลา และท้องฟ้าจำลอง ดูแล้วรู้สึกว่า “กระโดด” เป็นหนังที่ทำให้นึกถึงหนังเก่าๆของคุณทศพลมากที่สุด บางทีอาจจะเป็นเพราะว่ามันเป็นเรื่องของเพื่อนๆมหาลัยก็ได้มั้ง

รู้สึกดีที่คุณทศพลลองนำหนังสั้น 5 เรื่องนี้มารวมเป็นเรื่องเดียวกัน เพราะดูแล้วมันทำให้ดิฉันนึกถึงการพยายามทำความเข้าใจกับใครสักคนที่มีหลายๆด้านอยู่ในตัวเอง

I just saw UNDER THE BLANKET (2008, Tossapol Boonsinsukh, A+++++). As for now, I can only say that it is unclassifiable or indescribable for me. The more I try to write about it, the more I feel I unfairly “reduce” the film or the images in the film. UNDER THE BLANKET may not arouse my feelings as strongly as his previous films, but it is still as unforgettable as his previous films. Many scenes in UNDER THE BLANKET have a quality that I like very much. They make me feel free or liberated while watching them. That is not what I feel when I watch most films. Many scenes in UNDER THE BLANKET are not enslaved by storytelling, messages, meanings, or obvious connection to the previous or the next scenes. I mean these scenes may actually tell a story, send a message, carry some meanings or symbols, and have connection to other scenes, but they are not as enslaved by these things as scenes in other films. That’s why I feel free or liberated while I watch most scenes in UNDER THE BLANKET.

It may be totally unrelated, but I want to note that after I saw UNDER THE BLANKET on Friday, I went home to sleep and had a dream that I listened to the song WE’RE ALL ALONE and felt very sad. After I woke up, I cried a lot because of the mysterious sadness lingering from the dream. This song is not in the film, but I wonder if UNDER THE BLANKET had some mysterious effect on my subconscious or not. Is my dream unintentionally caused by some feelings I had while I was watching this film? Maybe not.

This is the video clip of Rita Coolidge singing WE’RE ALL ALONE:
http://www.youtube.com/watch?v=yGC29fn8JFU

This is the lyrics:

Outside the rain begins and it may never end
So cry no more on the shore
A dream will take us out to sea
Forever more forever more

Close your eyes and dream
And and you can be with me
'Neath the waves through the caves of hours
Long forgotten now
We're all alone
We're all alone

Close the window
Calm the light
And it will be alright
No need to bother now
Let it out
Let it all begin
Learn how to pretend

Once a story's told
It can't help but grow old
Roses do
Lovers too
So cast your seasons to the wind
And hold me dear
Oh, hold me dear

Close the window
Calm the light
And it will be alright
No need to bother now
Let it out
Let it all begin

All's forgotten now
We're all alone
oh-oh, we're all alone

2 comments:

Anonymous said...

"WE'RE ALL ALONE UNDER THE BLANKET"
can be text on poster
:D (so lonely)

happy that you come krub p

celinejulie said...

If this film is shown again, please tell me about the schedule, because I want to see this film again very much.

I like many, many things in this film. I also like what you said after the screening very much. Now I think that maybe the last 15-20 minutes of this film may be an imagination of a character. What actually happens may be like this: a lonely man goes to the scientific museum, he sees a girl, he imagines that this girl is someone he knew, etc.

Somehow I think that “the scientific museum” is another important character in this film. It seems as if we watch these human characters through the eyes of the playful (and maybe lonely) scientific museum.