Sunday, August 04, 2013

ARISARA (2013, Charttagarn Wechakij, documentary, 33.49min, A+20)

 
ARISARA (2013, Charttagarn Wechakij, documentary, 33.49min, A+20)
อริสรา (ชาติตะการ เวชกิจ)
 
เราเห็นด้วยกับทุกสิ่งที่คุณ Ratchapoom Boonbunchachoke พูดเกี่ยวกับหนังเรื่อง “อริสรา” ในคลิปนี้จ้ะ
 
สิ่งที่นึกถึงเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้
 
1.ชอบความเปิดเผยของตัว subject ที่มีต่อหน้ากล้องมากๆ เราคิดว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดในหนังสารคดีส่วนใหญ่ คือการที่ผู้กำกับกับ subject ของหนังต้องจูนคลื่นตรงกันให้ได้ เพื่อที่ subject ของหนังจะได้กล้าพูด กล้าแสดงออก กล้าเผยใจ, ความคิด, ความรู้สึก, ความหวาดกลัว, ความหวั่นไหว หรือจิตวิญญาณของตนเองออกมาต่อหน้ากล้อง และหนังเรื่องนี้ก็ทำได้สำเร็จตรงจุดนี้
 
2.ชอบที่หนังแสดงให้เห็นตัวอริสราขณะที่ยังไม่ค่อยแต่งหน้า กับอริสราขณะโพสท์ท่าถ่ายรูป เพราะใน moment นึงเธอก็ดูเป็นผู้หญิงธรรมดาสามัญ แต่ในอีก moment นึงเธอก็ดู sexy มากๆ หนังเรื่องนี้มันทำให้เห็นว่า การโพสท์ท่า sexy มันเป็นการทำงานแบบมืออาชีพจริงๆ มันเหมือนไม่ใช่นิสัยจริงๆของตัว subject ที่ต้องทำท่า sexy แบบนั้น
 
3.อริสราและเพื่อนสาว pretty ของเธอ ถ้าหากไปอยู่ในหนังไทย fiction ผู้หญิงที่มีภาพลักษณ์แบบนี้มักจะได้รับบทนางอิจฉา หรือดาวยั่ว แต่ไม่ได้รับบทนางเอก เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มากๆที่ subject ของหนังเรื่องนี้ มันเหมือนทำลาย stereotype ของนางอิจฉาหรือดาวยั่วโดยที่ตัวหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ หนังเรื่องนี้มันทำให้เรารู้สึกว่าไม่ว่าคุณจะมีภาพลักษณ์แบบไหน ไม่ว่าจะยั่วยวนหรือเรียบร้อย ก็มีความเป็นมนุษย์เท่ากันทุกคน ในขณะที่หนังไทย fiction หลายๆเรื่อง ยังติดภาพลักษณ์ของนางเอกแบบเรียบร้อยอยู่
 
4.ชอบที่หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความลำบากในการทำงานของอริสรา และเปิดโอกาสให้อริสราเล่าถึงความเปลี่ยนแปลงในชีวิตการทำงานของเธอ โดยในช่วงแรกนั้นเธอทนไม่ได้กับสายตาของผู้ชายหื่นๆ แต่ในเวลาต่อมาก็ทำใจได้ เราชอบหนังที่พูดถึงความลำบากของชีวิตแบบนี้แหละจ้ะ
 
5.หนังเรื่องนี้ทำให้เราเปลี่ยนความคิดที่มีต่อการทำศัลยกรรมเหมือนกัน เพราะปกติแล้วเราจะมองว่าศัลยกรรมเป็นสิ่งไม่จำเป็น แต่หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าศัลยกรรมเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับอาชีพบางอาชีพจริงๆ  ในมุมนึง การทำศัลยกรรมก็เหมือนกับการลงคอร์สเรียนภาษาอังกฤษสำหรับคนที่ประกอบอาชีพอื่นๆน่ะ เพราะมันเป็น asset ที่จำเป็นต้องใช้ในการประกอบอาชีพเหมือนกัน
 
6.ชอบที่หนังแสดงให้เห็นถึงความไม่มั่นใจในอนาคตของอริสราด้วย จริงๆแล้วหนังไม่ได้ตอกย้ำตรงจุดนี้มากนัก แต่ชอบที่หนังเปิดโอกาสให้อริสราได้พูดถึงอนาคตของเธอ พูดถึงการยอมรับความจริงที่ว่าอาชีพพริตตี้เป็นอาชีพที่ทำได้แค่แป๊บเดียวเท่านั้น แล้วหลังจากนั้นก็ต้องผันตัวเองไปทำงานเป็น organizer หรือทำงานอื่นๆ
 
7.ชอบผู้สมัครมิสโฟโต้ฮันท์คนอื่นๆที่ปรากฏตัวอยู่ใน background ของบางฉากในหนังเรื่องนี้มากๆ ผู้สมัครคนอื่นๆดูแรงมาก และดูเป็นผู้หญิงที่มี character จัดจ้านดี และเรามักจะชอบผู้หญิงที่มี character แบบนี้มากๆ
 
8.ชอบฉากที่แอบถ่ายคลินิกศัลยกรรมด้วย
 
9.อย่างไรก็ดี การที่หนังเรื่องนี้ออกฉายหลังจากหนังเรื่อง “มะตูม” (2011, เบญจมาศ รัตนเพ็ชร) ที่พูดถึงประเด็นสาวพริตตี้เหมือนกัน ก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้ขาดความ “น่าตื่นเต้น” สำหรับเรานิดหน่อย จริงๆแล้วชีวิตของมะตูมกับอริสรานั้นมีหลายอย่างที่แตกต่างกัน แต่ตอนที่เราดูมะตูม เรารู้สึกตื่นเต้นมาก เพราะมันเป็นหนังเรื่องแรกที่เราเคยดูที่พูดถึงประเด็นสาวพริตตี้ แต่หนังเรื่องอริสราไม่ได้ให้ความตื่นเต้นกับเราตรงจุดนี้ เพราะมันออกฉายทีหลังน่ะจ้ะ
 
อย่างไรก็ดี “ความตื่นเต้น” ไม่ใช่สิ่งสำคัญแต่อย่างใด คนทุกคนแตกต่างกัน สาวพริตตี้แต่ละคนก็มีชีวิตที่แตกต่างกันไป ถึงแม้จะประกอบอาชีพเดียวกัน เพราะฉะนั้นถ้าหากมีหนังสารคดีเกี่ยวกับสาวพริตตี้ออกมาอีก หนังเรื่องนั้นก็อาจจะไม่ “น่าตื่นเต้น” แต่ก็อาจจะยังคงมีความ “น่าสนใจมากๆ” ได้ ถ้าหากหนังสามารถนำเสนอจิตวิญญาณที่แตกต่างกันไปในตัว subject ออกมาได้จริงๆ
 
 

No comments: