Sunday, December 03, 2017

MURDER ON THE ORIENT EXPRESS (2017, Kenneth Branagh, A+25)

MURDER ON THE ORIENT EXPRESS (2017, Kenneth Branagh, A+25)

เราเป็นคนเดียวหรือเปล่าที่ดูแล้วรู้สึกซาบซึ้งมากจนต้องร้องห่มร้องไห้ 555 คือหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่เราดูแล้วรู้สึกว่าหนังมันปลอบประโลมคนที่มี “fractures of the soul” แบบเราน่ะ ซึ่งเราว่าตอนที่เราอ่านนิยายเรื่องนี้ มันไม่ได้ sense แบบนี้ด้วยนะ คือเราชอบนิยายเรื่องนี้อย่างสุดๆ และชอบพล็อตเรื่องและการหักมุมอะไรของมันมากๆ แต่พอมาดูหนังเวอร์ชั่นนี้ เรารู้สึกว่า หนังมันเข้าข้างตัวละครที่มี fractures of the soul น่ะ โดยผ่านทาง “การแสดง” ของนักแสดงบางคน ทั้งแววตาและน้ำตาของนักแสดง, ดนตรีประกอบ, การเคลื่อนกล้อง, การถ่ายภาพ+จัดแสงในช่วงท้าย คือองค์ประกอบเหล่านี้มันเอื้อให้เรารู้สึกไปเองว่า คนที่มี fractures of the soul แบบเราได้รับการปลอบประโลมจิตใจผ่านทางองค์ประกอบต่างๆในช่วงท้ายของหนังเรื่องนี้น่ะ

คือจริงๆแล้วหนังที่มันเข้าข้างตัวละครที่มี fractures of the soul แบบสุดๆ คือหนังอย่าง BREMEN FREEDOM (1972, Rainer Werner Fassbinder), MONSTER (2003, Patty Jenkins), MAPS TO THE STARS (2014, David Cronenberg) และ FEBRUARY (2015, Oz Perkins) นะ คือหนัง 4 เรื่องนี้เป็นกลุ่มหนังที่เราชอบที่สุดในชีวิต เพราะเราว่าหนัง 4 เรื่องนี้มันจงใจนำเสนอตัวละครที่เข้าทางเรา และหนังมันรักตัวละครที่มี fractures of the soul เหล่านี้มากๆ ส่วน MURDER ON THE ORIENT EXPRESS นั้น มันเป็นหนังแบบ “เฉียดๆ” จะเข้ามาในกลุ่มนี้น่ะ  แต่แค่นี้เราก็พอใจมากๆแล้ว

สรุปว่า มันอาจจะไม่ใช่หนังดี แต่กูดูแล้วร้องไห้ด้วยความซาบซึ้งกินใจ จบ   

UNEXPECTEDLY YOURS (2017, Cathy Garcia-Molina, Philippines, A+25)

ดีใจมากๆที่ชุมชนคนฟิลิปปินส์ในไทยจัดเอาหนังเมนสตรีมจากฟิลิปปินส์มาฉายที่ Century Plaza  เหมือนกับที่คนอินเดียในกรุงเทพเอาหนังเมนสตรีมจากอินเดียมาฉายเป็นประจำในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ตอนนี้ก็ได้แต่หวังว่าชาวฟิลิปปินส์ในกรุงเทพจะจัดงานแบบนี้เป็นประจำ และหวังว่าชุมชนคนต่างชาติอื่นๆในไทยจะทำแบบเดียวกันนี้ด้วย

มีการเปิดเพลงชาติฟิลิปปินส์ก่อนหนังฉายด้วยนะ เก๋มากๆ คือจริงๆเราไม่รู้หรอกว่ามันเป็นเพลงชาติหรือเพลงอะไร แต่เห็นคนลุกขึ้นยืนกันทั้งโรง เราเลยลุกตาม

ตั๋วหนังราคา 300 บาทนะ ซึ่งก็ใกล้เคียงกับราคาตั๋วหนังอินเดีย หนังมีซับไตเติลภาษาอังกฤษ

จริงๆแล้วหนังมันดูมีความโง่มากๆ คือมันมีความใกล้เคียงกับหนังปัญญาอ่อนของไทยมากๆเลยน่ะ หรือใกล้เคียงกับหนังของนักศึกษาไทยบางมหาลัยมากๆ โดยเฉพาะในแง่ของพล็อตและ setting คือมันเป็นเรื่องของแม่วัย 50 ที่หย่ากับสามีหนุ่มหล่อแล้ว และมีลูกสาววัย 21 ปี ปรากฏว่าแม่+ลูกสาวคู่นี้ ได้เพื่อนบ้านใหม่เป็นหนุ่มหล่อวัย 50 ที่มีหลานชายหนุ่มหล่อเหมือนกัน และหนุ่มหล่อสองวัยนี้ก็พยายามตามจีบแม่ลูกคู่นี้

คือองค์ประกอบหลายๆอย่างมันดูเหมือนหนังไทยปัญญาอ่อนมากๆ มันดูชนชั้นกลางมากๆ และเป็นขั้วตรงข้ามอย่างรุนแรงกับหนังกลุ่ม poverty porn ของฟิลิปปินส์

แต่ปรากฏว่าดูไปแล้วก็ชอบมากๆนะ มันเหมือนหนังที่ยอร์ช ฤกษ์ชัยควรจะสร้าง แต่ไม่ได้สร้างน่ะ คือทุกอย่างมันดูสูตรสำเร็จมากๆ ตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง แต่เหมือนมันแม่นในการละเลียดอารมณ์แบบสูตรสำเร็จน่ะ เราก็เลยสามารถดูหนังที่ทุกวินาทีมีแต่สิ่งที่ “predictable” ได้อย่างเพลิดเพลิน

นอกจากความแม่นในการละเลียดอารมณ์แบบสูตรสำเร็จแล้ว องค์ประกอบบางส่วนก็เข้าทางเราด้วยแหละ เพราะมันเป็นหนังโรแมนติกคอมเมดี้ที่นางเอกอายุ 50 ปี และมันเป็นหนังที่ต่อต้าน “compliance” ด้วย หมายถึงเป็นหนังที่ตัวละครจะมีความสุขอย่างแท้จริงได้ด้วยการทำในสิ่งที่ตัวเองอยากทำ ไม่ใช่ทำในสิ่งที่พ่อแม่บอกให้ทำ

ROMEO AND JULIETTE (2015, Eric Ruf, France, theatre/film, A+10)

คนดูเยอะมาก เหมือนจะเยอะที่สุดตั้งแต่เราดูหนังที่ Alliance เลยมั้ง แต่เราดูแล้วเฉยมากๆ คือนักแสดงก็ตั้งใจเล่นจนสุดความสามารถน่ะแหละ แต่เราเบื่อเนื้อเรื่องแบบนี้แล้วน่ะ แล้วพอเนื้อเรื่องมันไม่มีอะไรใหม่ และวิธีการนำเสนอมันก็ไม่ได้มีอะไรพิสดารพันลึก เราก็เลยเฉยๆกับมัน

JIGSAW (2017, Michael Spierig + Peter Spierig, A+10)


ดูได้เพลินๆ แต่เหมือนไม่ได้มีอะไรสร้างสรรค์ไปกว่า 7 ภาคที่แล้วมาแต่อย่างใด

No comments: